2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพสถานศึกษาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : ประยุกต์ใช้การปรับเทียบด้วยวิธีเชิงเส้นตรงและการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 สิงหาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 31 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพสถานศึกษาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การปรับเทียบด้วยวิธีเชิงเส้นตรง (Linear Equating Method) และการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิจากโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) และข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2560 จากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 226 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบบันทึกข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย (GPAX) และแบบบันทึกคะแนนการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS19 และ HLM version 7.03 ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายที่ขจัดอิทธิพลของขนาดโรงเรียน (LGPA) แต่ละขนาดไม่มีความแตกต่างกันและผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหลังการปรับเทียบด้วยวิธีเชิงเส้นตรง (EqGPAX) มีค่าสูงสุดเท่ากับ 3.757 ค่าต่ำสุดเท่ากับ 0.340 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.440 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.455 การแจกแจงของผลการเรียนสะสมหลังการปรับเทียบ (EqGPAX) มีการแจกแจงแบบปกติ (Normal Curve) 2) คะแนนมูลค่าเพิ่มทางการศึกษาของสถานศึกษามีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.261 และคะแนนต่ำสุดเท่ากับ -0.261 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.000 และคะแนนคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) เท่ากับ 0.005 การแจกแจงของคะแนนมูลค่าเพิ่มมีการแจกแจงแบบปกติ (Normal Curve) 3) การจัดกลุ่มคุณภาพสถานศึกษาจากคะแนนมูลค่าเพิ่มตามเกณฑ์การตัดสินการจัดกลุ่มคุณภาพคะแนนมูลค่าเพิ่ม (value added scores rating ; VAS rating) พบว่าระดับคุณภาพของคะแนนมูลค่าเพิ่มส่วนใหญ่อยู่ระดับคุณภาพ B (ดี) มากที่สุด 91 โรงเรียน รองลงมา คือ ระดับปานกลาง, ระดับดีมาก และระดับปรับปรุง (73, 32 และ 30 โรงเรียน) ตามลำดับ  
     คำสำคัญ ตัวชี้วัดมูลค่าเพิ่ม การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม การปรับเทียบ  
ผู้เขียน
597050016-8 นาย ภาณุพงศ์ แสงดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0