2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เปียโน สำหรับนักศึกษา สาขาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
Date of Acceptance 4 September 2019 
Journal
     Title of Journal วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 
     Standard TCI 
     Institute of Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     Volume 13 
     Issue
     Month กันยายน-ธันวาคม 2562
     Year of Publication 2019 
     Page
     Abstract บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เปียโน สำหรับสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) ศึกษาผลการทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม โดยผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและข้อมูล โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอาจารย์ผู้สอนเปียโน 13 คน ผู้บริหารหรืออาจารย์ผู้สอนเปียโน 13 คน นักศึกษาที่เรียนวิชาเอกเปียโน 13 คน จากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาเอกเปียโนในประเทศไทย โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับอาจารย์ผู้สอนเปียโนและนักศึกษาที่เรียนวิชาเอกเปียโน แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหารหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอนเปียโน ระยะที่ 2 การยกร่างหลักสูตร โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน นักศึกษากลุ่มทดลอง 10 คน โดยเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มทดลองจริง (try out) โดยใช้วิธีการสุ่ม อย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินหลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินทักษะปฏิบัติ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจการใช้หลักสูตร ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษา 10 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินทักษะปฏิบัติ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจการใช้หลักสูตร และระยะที่ 4 สรุปผลการใช้หลักสูตร โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 จากระยะที่ 3 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้หลักสูตร สรุปผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เปียโน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้หลักสูตรที่มีความเหมาะสมในระดับมาก ( =4.40) มีความเหมาะสมเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลพิจารณาเป็นรายด้านมีผลดังนี้ ด้านสภาพปัญหาและความจำเป็นของหลักสูตรมีผลเหมาะสมมาก ( =4.45) ด้านหลักการของหลักสูตรมีผลเหมาะสมมาก ( =4.40) ด้านเป้าหมายของหลักสูตรมีผลเหมาะสมมาก ( = 4.27) ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีผลเหมาะสมมาก ( =4.32) ด้านกระบวนการเรียนการสอน มีผลเหมาะสมมาก ( =4.33) ด้านสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมมีผลเหมาะสมมากที่สุด ( =4.66) ด้านการวัดและประเมินผลมีผลความเหมาะสมมาก ( =4.40) 2. ผลการทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เปียโน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก  
     Keyword การจัดการเรียนรู้เปียโน , การพัฒนาหลักสูตร , การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เปียโน 
Author
567220009-6 Mr. PARIYAT MANSANGA [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 1