2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง โดยการรับแจ้งเหตุจากหมายเลขโทร 1669 ในจังหวัดบุรีรัมย์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 2 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ 043-347 057 ต่อ 42825 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advance Life Support:ALS) โดยการรับแจ้งเหตุจากโทร.หมายเลข 1669 ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 30กันยายน 2561 ในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการศึกษาแบบ Case control study คัดเลือกตัวอย่างด้วยการสุ่มจากรายงานผ่านระบบ ITEMS สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ได้รับบริการการช่วยเหลือจากระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ด้วยอาการนำสำคัญรหัส 25 อุบัติเหตุยานยนต์ เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกการปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) จากระบบรายงาน ITEMS สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ระหว่างกลุ่มที่เสียชีวิตกับไม่เสียชีวิตโดยใช้ทั้ง Univariate และ Multiple logistic regression ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ได้รับบริการการช่วยเหลือจากระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 492 ราย จำแนกกลุ่มผู้ประสบอุบัติเหตุที่เสียชีวิตจำนวน 123 ราย และกลุ่มที่ไม่เสียชีวิต จำนวน 369 ราย ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (ALS) ได้แก่ ระดับการคัดแยก (ER Triage) ระดับความรุนแรงฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) (ORadj=10.38; 95% CI=4.22-25.51, p-value<0.001) การประเมินการตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บ (RTS) (ORadj=22.28; 95% CI=9.35-48.43, p-value<0.001) และระยะเวลาการเข้าช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ (ORadj=2.80; 95% CI=1.11-7.01, p-value<0.028) จากการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (ALS) เกิดจากปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ และปัจจัยด้านการดูแลรักษาผู้ประสบอุบัติเหตุ ดังนั้นจึงควรเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรับบริการด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (ALS) ความพร้อมในการปฏิบัติงาน รถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างทันท่วงที ประชาสัมพันธ์การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วยโทร.หมายเลข 1669 หลักการแจ้งเหตุฉุกเฉินให้ประชาชนทราบอย่างถูกต้อง หรือถอดบทเรียนรายกรณี ในกรณีที่เป็นผู้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือบาดเจ็บรุนแรง เพื่อหาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไขปัญหาในการเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพต่อไป 
     คำสำคัญ หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ,ระดับการคัดแยก (ER Triage), การประเมินตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บ (RTS) 
ผู้เขียน
605110096-8 น.ส. ฉัตรธิดา ศรีภู่ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0