2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานโรงน้ำดื่ม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 5 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาวารสารฯ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานโรงน้ำดื่ม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 64 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างชัดเจน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) และสถิติ chi-squared test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P- value 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.38 มีอายุระหว่าง 40 ปีขึ้นไปร้อยละ 29.69 มีระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 37.56 สถานภาพสมรส ร้อยละ 68.75มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 82.81 มีประสบการณ์ในการทำงานส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 1-2 ปี ร้อยละ 53.13 น้ำหนักถังน้ำที่ยักหนักส่วนใหญ่ น้ำหนัก 18.9 ลิตร ร้อยละ 81.25 โดยไม่มีเครื่องช่วยผ่อนแรงในการยกถังน้ำ ร้อยละ 90.63 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ร้อยละ 95.31 การศึกษาอาการและความรุนแรงความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนของร่างกายข้างขวาและข้างซ้ายแยกตามบ่งชี้ความรุนแรงของความผิดปกติกล้ามเนื้อ พบว่าทั้งสองข้างบริเวณที่ปวดมากคือ มือและข้อมือร้อยละ 25.76 , 34.38 ตามลำดับ มีความชุกอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อร้อยละ 57.81 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในพนักงานโรงน้ำดื่มได้แก่ อายุ (Chi-Square=9.922, P- value = 0.019),สถานภาพสมรส(Chi-Square=9.3708, P- value = 0.025),การออกกำลังกาย (Chi-Square=10.0727, P- value = 0.006)และท่าทางการทำงานของลำตัวที่มีการโน้มตัวไปด้านหน้า (Chi-Square=30.276, P- value <0.001) จากปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อจากการทำงาน ทั้งปัจจัยลักษณะงาน สิ่งแวดล้อมการทำงานควรจัดให้มีการเฝ้าระวังป้องกันโรคทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ และลดความเสี่ยงและวางแผนการป้องกันความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานโรงน้ำดื่ม เช่น การอบรมทางการยศาสตร์การทำงานแก่พนักงาน การมีเครื่องผ่อนแรงในการยกถังน้ำดื่ม เป็นต้น  
     คำสำคัญ พนักงานโรงน้ำดื่ม, อาการผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ, ปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์  
ผู้เขียน
605110100-3 น.ส. กมลชนก สหุนาฬุ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0