2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้รูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 6 สิงหาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 11 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 
     สถานที่จัดประชุม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 6 สิงหาคม 2562 
     ถึง 7 สิงหาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 11 
     Issue (เล่มที่) 11 
     หน้าที่พิมพ์ 1743-1751 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนทางการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ และศึกษาจำนวนนักเรียนที่สามารถเขียนคำศัพท์ภาษาไทยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ในแต่ละระยะของรูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินตั้งแต่ 91 เดซิเบลขึ้นไปที่มีระดับเชาวน์ปัญญาปกติและไม่มีความพิการซ้อน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนคำศัพท์ภาษาไทยด้วยรูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ (RTI) 3 ระยะ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้การเขียนคำศัพท์ภาษาไทย 3) แบบฝึกหัดการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย แบบแผนการทดลองที่ใช้คือ แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง (One-Group Pretest-Posttest design) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ในการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยคะแนนหลังเรียน ได้ ร้อยละ 82.91 ก่อนเรียนได้ร้อยละ 47.06 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าขึ้นร้อยละ 35.85 2. หลังการทดสอบต่อจากการทดสอบหลังเรียนสองสัปดาห์นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย ร้อยละ 79.16 ลดลงจากการสอบหลังเรียนร้อยละ 3.75 ซึ่งแสดงว่านักเรียนยังมีความคงทนในการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย 3. จำนวนนักเรียนที่สามารถเขียนคำศัพท์ภาษาไทยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ในแต่ละระยะของรูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ มี 6 คน และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 มี 2 คน คำสำคัญ: รูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ,นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  
ผู้เขียน
575050346-1 น.ส. บุญรักษา มุลตรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0