2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ พฤติกรรมการดูดซับและการชะล้างโลหะหนักของดินเหนียว เบนโทไนท์ที่ผสมกับซีเมนต์และวัสดุปอซโซลานจากการทดสอบแบบต่อเนื่อง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 31 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ทุกปีมีการปล่อยน้ำเสียจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมจำนวนมากลงสู่แม่น้ำโดยไม่มีการบำบัด น้ำเสียเหล่านี้มักปนเปื้อนไปด้วยโลหะหนักในปริมาณที่สูง การดูดซับเป็นหนึ่งในวิธีการกำจัดโลหะหนักที่ประหยัดและมีความสะดวกในการดำเนินงาน ดินเหนียวเป็นดินที่ประสิทธิภาพในการดูดซับสูงและราคาไม่แพง ในงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้ดินเหนียวเบนโทไนท์ผสมกับวัสดุผสมเพิ่ม 7 ชนิดประกอบด้วย 1) ซีเมนต์ 2) เถ้าลอย 3) เถ้าหนัก 4) ซิลิกาฟูม 5) ดินขาวเผา 6) ตะกรันเตาถลุงเหล็กบด และ 7) เถ้าแกลบ มาทำการศึกษาการดูดซับของนิกเกิลและสังกะสี ด้วยการทดสอบแบบต่อเนื่อง เป็นการทดสอบการดูดซับโลหะหนักโดยการจำลองสภาวะจริงของกระบวนการดูดซับในชั้นดิน การทดลองแบ่งเป็น 3 วัฏจักร วัฏจักรแรกเป็นการปล่อยสารละลายโลหะหนักผ่านแบบจำลองตัวอย่าง แล้วปล่อยน้ำกลั่นไปยังแบบจำลองด้วยอัตราการไหลอย่างต่อเนื่องในวัฏจักรที่สอง สองขั้นตอนนี้สามารถจำลองสภาพจริงของการปล่อยนิกเกิลและสังกะสีในน้ำเสียลงสู่ดินและถูกชะล้างด้วยฝน ในวัฏจักรที่สามทำการปล่อยสารละลายโลหะหนักผ่านแบบจำลองตัวอย่างอีกครั้งเพื่อจำลองการดูดซับหลังจากการชะล้าง พฤติกรรมการดูดซับในการศึกษานี้สามารถแสดงให้เห็นในเส้นโค้งเบรกทรู (Breakthrough Curves) ซึ่งเป็นกราฟความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ทดสอบ (t) และอัตราส่วนของความเข้มข้นสุดท้ายต่อความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลาย (C / C0) ซึ่งสามารถอธิบายพฤติกรรมของการดูดซับในแต่ละวัฏจักรได้และสามารถคำนวนหาค่าแฟคเตอร์การหน่วง (R) และสัมประสิทธิการแพร่ (D) จากการศึกษานี้พบว่าเบนโทไนท์ผสมวัสดุผสมเพิ่มมีความสามารถในการดูดซับสังกะสีได้ดีกว่านิกเกิล เบนโทไนท์ผสมกับซีเมนต์มีประสิทธิภาพในการดูดซับนิกเกิลและสังกะสีสูงสุดตามด้วยเถ้าลอย, เถ้าหนัก,ซิลิกาฟูม, เตาถลุงเหล็กบด, ดินขาวเผา, เถ้าแกลบ ตามลำดับ โดยที่เบนโทไนท์ผสมกับซีเมนต์มีค่า แฟคเตอร์การหน่วงมากกว่าเบนโทไนท์ 1.44 เท่า และสัมประสิทธิการแพร่น้อยกว่า 4 เท่า ส่วนวัสดุอื่นๆเมื่อผสมกับเบนโทไนท์จะทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซับลดลงและกระบวนการชะล้างสามารถเกิดขึ้นได้ในวัฏจักรที่ 2 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น 
     คำสำคัญ เบนโทไนท์, การดูดซับโลหะหนัก, การทดสอบแบบต่อเนื่อง, วัสดุปอซโซลาน, กราฟเบรคทรู 
ผู้เขียน
605040031-5 นาย พิทยา สติมั่น [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0