2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ดนตรีในพิธีไหว้ครูพิณเพียตราชสำนักกัมพูชา Music in Pin Peat Master Worshiping Ceremony in Cambodian Royal.  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     ISBN/ISSN
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการ รวมไปถึงระเบียบพิธีกรรมและเพลงประกอบในพิธีไหว้ครูพิณเพียตราชสำนักกัมพูชา ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเข้าเก็บข้อมูลภาคสนามในพิธีไหว้ครูประจำปี 2559 ของโรงเรียนมัธยมวิจิตรศิลป์ และข้อมูลเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยภูมินทร์วิจิตรศิลป์ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผลการศึกษา พบว่า วงพิณเพียตมีรากฐานมาจากแนวคิดร่วมสมัยของนักปราชญ์ในพระราชวังของกษัตริย์ร่วมกับวิถีศาสนพิธีของพราหมณ์ ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า เพลงศาสนาหรือเพลงนักปราชญ์ วงพิณเพียตมาจากวงเพลงพิณซึ่งมีกำเนิดตั้งแต่สมัยนครภนม และก่อนยุคประวัติศาสตร์เขมรมีวงดนตรีประเภทหนึ่ง นิยมเรียกว่าวงเพลงคงสฺคร มีเครื่องตีเป็นหลักในการดำเนินทำนอง ดังนั้นวงเพลงพิณเพียตจึงมีที่มาจากวงเพลงพิณกับวงเพลงคงสคร ส่วนที่มาของพิธีไหว้ครูนั้น พบว่า กำเนิดจากพิธีโฎนตา ដូនតា จัดขึ้นเพื่อบำเพ็ญกุศลให้กับบรรพบุรุษทางดนตรีเป็นหลัก พิธีนี้มีความชัดเจนในแง่ของพิธีกรรมและเป็นระบบระเบียบชัดเจนหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ผู้ประกอบพิธีเดิมนั้นจะเรียกเพลงพิณเพียตสำหรับพรใหญ่ จำนวน 33 เพลง แต่ด้วยสาเหตุปัจจัยทางเมือง ภัยสงคราม แหล่งทุน ระยะเวลา และสาระความสำคัญ จึงมีการตัดเนื้อหาให้เหลือแต่สาระสำคัญ ที่เรียกว่าเพลงพิณเพียตสำหรับพรเล็ก จำนวน 12 เพลง พิธีไหว้ครูแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ 1.คือพิธีบำเพ็ญกุศลหรือพิธีโฎนตา 2.คือพิธีคารวะครูดนตรีเขมร และ 3.คือพิธีคารวะครูดนตรีผูกแขนรับขวัญ ผลจากการวิเคราะห์เพลง พบว่า ทำนองหลักในเพลงส่วนใหญ่มีกลุ่มเสียง ฟซล ดร และ ซลท รม โดยลูกตกเป็นไปตามหลักสังคีตลักษณ์ อยู่ในกลุ่มเสียงของทำนองหลัก ส่วนจังหวะ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใช่ฉิ่งเป็นเครื่องประกอบจังหวะอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 ใช้ตะโพนบรรเลงประกอบกับฉิ่ง และกลุ่มที่ 3 บรรเลงจังหวะฉิ่ง ตะโพน กลองทัด  
     คำสำคัญ พิธีไหว้ครู, วงพิณเพียต, ดนตรีราชสำนักกัมพูชา  
ผู้เขียน
577220020-9 ว่าที่ ร.ต. โสภณ ลาวรรณ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0