2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ รูปแบบและภาพสะท้อนทางดนตรีวงดิอิมพอสสิเบิลส์ THE MUSICAL FORM AND IMAGE REFLECTION OF THE IMPOSSIBLES BAND  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กรกฎาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ศิลปกรรมวิจัยครั้งที่5 "ศิลปะสร้างโลก" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมอวานี จ.ขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กรกฎาคม 2562 
     ถึง 13 กรกฎาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) ปีที่ 5 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 825-836 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึง ประวัติ ผลงาน และพัฒนาการทางดนตรีของวงดิอิมพอสสิเบิลส์์ อีกทั้งศึกษารูปแบบทางดนตรีของวงดิอิมพอสสิเบิลส์ โดยอธิบายถึงลักษณะการประพันธ์เนื้อร้องและเรียบเรียงดนตรี โดยกกระบวนการสังคีตลักษณ์วิเคราะห์ ซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงรูปแบบทางดนตรีมีที่ความเป็นลักษณะเฉพาะทางดนตรีวงดิอิมพอสสิเบิลส์ ตลอดทั้งยังศึกษาถึงภาพสะท้อนทางดนตรีของวงดิอิมพอสสิเบิลส์โดยอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยถ่ายทอดให้เห็นถึงสภาพทางสังคม รูปแบบวัฒนธรรม วิถีชีวิต และบริบทที่เกี่ยวข้องกับบทเพลงและดนตรีของวงดิอิมพอสสิเบิลส์ ผลการวิจัยพบดังนี้ วงดิอิมพอสสิเบิลส์ เป็นวงดนตรีที่สร้างปรากฏการณ์ทางดนตรีสมัยใหม่ในเมืองไทย มีพัฒนาการทางดนตรีอย่างต่อเนื่อง แบ่งได้เป็นสามช่วงเวลา คือ ยุคเริ่มต้น ยุครุ่งเรือง และยุคสุดท้าย ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาก็มีพัฒนาการทำงานและสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับอิทธิพลทางดนตรีจากวงดนตรีฝั่งอเมริกาและยุโรปอยู่หลายวงด้วยกัน ได้แก่ The Beatles, The Rolling Stone, Elvis Psesley, Ray Conniff, Frank Sinata, Engelbert Humberdinck, Perry Como, Dean Martin และ Evrery Brother เป็นต้น ซึ่งวงดนตรีเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งอิทธิพลทางดนตรีแก่วงดิอิมพอสสิเบิลส์เท่านั้น หากแต่ยังส่งอิทธิพลทางดนตรีต่อการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีเข้าสู่ยุคดนตรีสมัยใหม่ของโลกด้วยเช่นกัน วงดิอิมพอสสิเบิลส์มีรูปแบบการเรียบเรียงเสียงประสานทางดนตรีที่มีลักษณะเด่นในเรื่องของการใช้ จังหวะ(Rhythm) ฮาร์โมนี่(Harmony), และทางเดินคอร์ด(Chord) ที่เด่นชัดและมีรูปแบบทางดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะการใช้คอร์ดที่ ทั้งรูปแบบการดำเนินคอร์ด โหมดของคอร์ด ทางเดินของคอร์ด ทำให้วงมีการพลิกแพลงในการใช้คอร์ดที่หลากหลาย เช่น Minor, b5th, 9th , #9th ,11th ซึ่งวงดนตรีไทยในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้คอร์ดที่พลิกแพลงมากมายขนาดนี้ อีกทั้งยังเป็นภาพสะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้น ได้แก่ ภาพสะท้อนทางดนตรี ภาพสะท้อนแฟนเพลง ภาพสะท้อนแฟชั่น และภาพสะท้อนทางสังคม วัฒนธรรม โดยมองผ่านจากบทเพลงและตัวดนตรีของวงดิอิมพอสสิเบิลส์และบริบทรอบข้าง  
ผู้เขียน
597220012-0 นาย จิรัฐ มัธยมนันทน์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0