2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบวงจรที่ระดับความหนักปานกลางสลับเบาต่อระดับไขมันในเลือดและสมรรถภาพทางกายของบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 28 สิงหาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยเเละพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN M260862 
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบวงจรที่ระดับความหนักปานกลางสลับเบาต่อระดับไขมันในเลือดและสมรรถภาพทางกายของบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 24 คน ที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (≥200 mg/dl) และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (≥150 mg/dl) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย (n = 12) และกลุ่มควบคุม (n = 12) โปรแกรมการออกกำลังกายเป็นแบบวงจรที่ระดับความหนักปานกลางสลับเบา (MICIT) ประกอบด้วยการออกกำลังกายแบบแรงต้านและแบบแอโรบิค จำนวน 10 สถานี รวมเวลา 60 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองได้แก่ สมรรถภาพทางกายและไขมันในเลือดประกอบด้วยคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล และเอชดีแอล-คอเลสเตอรอล วิเคราะห์ข้อมูลระดับไขมันในเลือดและสมรรถภาพทางกายเพื่ออธิบายผลของโปรแกรม MICIT ภายในกลุ่มก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ Paired t-test และ Wilcoxon sign rank test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ independent t-test, Wilcoxon rank sum test และ ANCOVA ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นเพศหญิง:ชาย 9:3 คน และ 10:2 คน ตามลำดับ มีอายุเฉลี่ย 46.2±7.0 และ 48.6±6.2 ปี ตามลำดับ หลังเข้าร่วมโปรแกรม MICIT กลุ่มทดลองมีระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = 0.042 และ p = 0.002 ตามลำดับ และมีระดับไตรกลีเซอไรด์ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.049) ด้านสมรรถภาพทางกายพบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความอ่อนตัวและความคล่องแคล่วเพิ่มขึ้นจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.008) มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและมือ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) สรุปโปรแกรมการออกกำลังกาย MICIT เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายและสามารถลดระดับไขมันในเลือดได้  
     คำสำคัญ การออกกำลังกายแบบวงจร, การออกกำลังกายความหนักปานกลางสลับเบา, ไขมันในเลือด,สมรรถภาพทางกาย 
ผู้เขียน
605100004-5 นาย วิเชษฐ ตุลยวิชย์ [ผู้เขียนหลัก]
บัณฑิตวิทยาลัย ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0