2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปริมาณการรับสัมผัสสารเบนซีนของผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง เขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการรับสัมผัสสารเบนซีนจากปริมาณ Trans, Trans-Muconic acid (t,t-MA) ในปัสสาวะหลังปฏิบัติงานของผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่ง American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH) กำหนดให้ t,t-MA เป็นค่าดัชนีชีวัดทางชีวภาพของสารเบนซีนที่เกิดขึ้นภายในร่างกายหลังจากการสัมผัสสารเบนซีน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 3 อาชีพ (n=50) คือ พนักงานเติมน้ำมัน (n=30)พนักงานเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง (n=12) และผู้ประกอบการร้านค้า (n=8) จาก 8 สถานีบริการโดยวิเคราะห์ปริมาณ t,t-MA จากปัสสาวะที่เก็บหลังจากการปฏิบัติงาน ผลการศึกษาพบว่าระดับ t,t-MA ของผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงมีค่าระหว่าง 5.76 – 3,019.05 µg/g Cr. ซึ่งสูงกว่าค่าแนะนำปลอดภัย ACGIH ซึ่งกำหนดปริมาณ t,t-MA หลังปฏิบัติงานต้องไม่เกิน 500 µg/g Cr. จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 30 พนักงานเติมน้ำมันมีค่า t,t-MA ระหว่าง 5.76 – 3,019.05 µg/g Cr. สูงกว่าค่าแนะนำ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10 พนักงานเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องมีค่า t,t-MA ระหว่าง 54.36 – 705.08 µg/g Cr. สูงกว่าค่าแนะนำ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ผู้ประกอบการร้านค้ามีค่า t,t-MA ระหว่าง 339.49 – 1,717.19 µg/g Cr. สูงกว่าค่าแนะนำ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10 เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test เพื่อเปรียบเทียบค่ามัธยฐานกับค่าแนะนำของ ACGIH พบว่าระดับ t,t-MA ของผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่า 500 µg/g Cr. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ที่ 50 เท่ากับ 261.67 ช่วงความเชื่อมั่น 95% พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 148.4 – 376 µg/g Cr. ซึ่งไม่เกินค่าแนะนำปลอดภัย เมื่อเปรียบเทียบการรับสัมผัสสารเบนซีนระหว่างอาชีพพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.0073) ผู้ประกอบการร้านค้าส่วนใหญ่มีปริมาณ t,t-MA เกินระดับค่าแนะนำ ดังนั้นจึงควรจัดให้มีระบบการเฝ้าระวังการสัมผัสสารเบนซีนอย่างต่อเนื่องในกลุ่มนี้โดยการตรวจ t,t-MA ในปัสสาวะและควรมีการศึกษาเชิงลึกด้านการสัมผัสสารเบนซีน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการสัมผัสสารของผู้ประกอบอาชีพต่อไป  
     คำสำคัญ การรับสัมผัสสารเบนซีน ,ผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ,พนักงานเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ,ผู้ประกอบการร้านค้า 
ผู้เขียน
595110145-0 นาย นพปกรณ์ ทรงพันธุ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0