2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ประตู”ถั่ง”การค้ามั่นคง กำไรมั่งคั่ง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 12 กรกฎาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่5 ศิลปะสร้างโลก 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนแวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ Khon Kaen 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กรกฎาคม 2562 
     ถึง 13 กรกฎาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2562 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 162 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ จีนเป็นประเทศที่มีอารยะรรมเก่าแก่โบราณ ซึ่งมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ สังคม และการเมืองที่ยาวนานซับซ้อน ทั้งยังเป็นชนชาติหนึ่งที่อุดมไปด้วยนักคิด นักปรัชญาที่มีชื่อเสียง รวมถึงด้านกระบวนการงานช่างที่ล้ำลึกด้วยภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดด้านเทคนิค ความงามที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ไม่เป็นสองรองใครในโลก สะท้อนได้จากสินค้าที่เป็นที่นิยม และการเดินเรือในอดีตของจีน ซึ่งสินค้าต่างๆที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษนี้ ล้วนแล้วแต่นำมาซึ่งเม็ดเงิน กำไร ความมั่งคั่งอย่างมหาศาลแก่จีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างประเทศไทย ชาวจีนมีการเดินทางมาติดต่อ ค้าขายและสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนในแผ่นดินสยามมาเนินนานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยทวารวดี สุโขทัย เรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยา ที่การค้า การเชื่อมโยงเป็นไปอย่างราบรื่นคึกคัก ชาวจีนในอยุธยามีการสร้างอาคารบ้านเรือนร้านค้า ร้านขายอย่างกว้างขวาง (ทิศใต้บริย่านป้อมเพชร บางกระจะ) ซึ่งย่านการค้าที่สำคัญๆอย่างเช่น ย่านตลาดบ้านจีนปากคลองขุนละครไชย ย่านตลาดใหญ่ท้ายพระนคร ย่านตลาดนายไก่(นายก่าย) ย่านตลาดประตูข้าวเปลือก ซึ่งบรรดาย่านการค้าเหล่านี้มีตึกจีนตั้งอยู่ทั้งสองฟากถนนหลวงคนจีนคนไทยนั่งร้านขายสรรพสิ่ง สินค้ามีเครื่องสำเภา เครื่องทองเหลือง ทองขาว กระเบื้อง ถ้วยโถโอชาม ผ้าแพรสีต่างๆอย่างจีน เป็นต้น(สุจิตต์ วงษ์เทศ,2561) อาคารร้านค้า ร้านขายมีรูปแบบอย่างสถาปัตยกรรมจีน ซึ่งมีทั้งแบบชั้นเดียว สองชั้น โดดเด่นด้วยโครงสร้างที่ดูสวยงามโอ่อ่า มีความอ่อนช้อยกว่ากลุ่มสถาปัตยกรรมของชาติอื่นๆ โดยเฉพาะทรงหลังคาลักษณะโค้งงอนตรงปลาย ซึ่งเป็นเทคนิคการสร้างคานรับโครงหลังคาขึ้นไปเป็นชั้นๆ เรียกว่า โตวกง ลักษณะอย่างนี้ปัจจุบันเป็นที่แพร่หลายทั่วไปในงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ทั้งของจีน เกาหลี ญี่ปุ่นและในไทย แต่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมอย่างหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ และแฝงนัยยะด้านความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานอีกอย่างนั่นก็ คือ กรอบประตู”ถั่ง”(ถั่ง แปลว่า กำไร) ลักษณะเป็นกรอบไม้สี่เหลี่ยมที่มีความหนาของไม้พอสมควร ทั้งนี้เนื่องจากชาวจีนมักจะไม่นิยมสร้างอาคารที่มีเสาค้ำจำนวนมาก กรอบประตูและคานอาคาร จึงจำเป็นจะต้องมีขนาดที่ใหญ่โตแข็งแรง เพื่อสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างด้านบนอื่นๆได้อย่างไม่มีปัญหา ดังนั้นในความหมาย ความสำคัญของกรอบประตู”ถั่ง”จึงไม่ใช่เป็นเพียงกรอบไม้เนื้อแข็งที่เอาไว้แต่ยึดจับกับประตูบานฟี้ยม หรือเพื่อแก้ปัญหาทางโครงสร้างด้านอาคารเท่านั้น แต่กรอบประตู”ถั่ง”นี้ ยังมีนัยยะอันลึกซึ้งที่สะท้อนถึง ความหวัง ความเชื่อ ความศัทธา และความผูกพันของชาวจีนอันมีรากเหง้ามาจากแนวคิดปรัชญาตามคำสอนของ”ขงจื้อ” ประตู”ถั่ง”จึงถือว่าเป็นความสำเร็จสูงสุดอย่างหนึ่งของการหลอมรวมไว้ซึ่งงานด้านสถาปัตยกรรมและคติความเชื่อจีนไว้ได้อย่างกลมกลืนจนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญชัดเจนหากเรานึก ถึงคุณลักษณะบางอย่างในอาคารจีน ปัจจุบันกรอบประตู”ถั่ง”ของอาคารเก่ารูปแบบจีนหลายหลังในประเทศไทยยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ ซึ่งในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างอาคารเก่ารูปแบบจีนในย่านการค้าเก่าแก่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ไว้เป็นกรณีศึกษาโดยเฉพาะ  
ผู้เขียน
607220029-4 นาย ทรงวุฒิ แก้ววิศิษฎ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0