2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แนวคิดและการประพันธ์ดนตรีสำหรับกีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์ของ พิจักษณ์ วีระไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการประพันธ์เพลงสำหรับกีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์ ของ พิจักษณ์ วีระไทย ผลงานเพลงอัลบั้ม จากโลกถึงดวงจันทร์ (Form the earth to the moon) เป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์เพลงสรุปตามแนวทางดนตรีวิทยาได้ดังนี้ ด้านแนวคิดแรงบันดาลใจการประพันธ์เพลงสำหรับกีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์พบผลวิจัยในสอง ลักษณะ คือ 1) การวางแนวคิดเพื่อสื่อถึงเรื่องราวอารมณ์เพลง ทั้งด้านเทคนิคการบรรเลง 2) การประพันธ์ทั้งเพลงขึ้นมาก่อนตามจินตนาการของผู้ประพันธ์ แล้วจึงกำหนดแนวทางของเพลงภายหลัง ด้านการวิเคราะห์เพลงเชียงราย พบว่า ได้รับแรงบันดาลใจจากความประทับใจความงดงามของ ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย แล้วเกิดความประทับใจในธรรมชาติ ตลอดทั้งวิถีชีวิตของชาวบ้านที่มีการผสมผสานวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและวิถีชีวิตแบบใหม่อยู่ด้วยกันจึงเกิดความประทับใจ การสร้างทำนองในช่วงนำ และ ท่อนจบ ที่ใช้เทคนิคกีตาร์ Natural Harmonic และ Slide เข้ามาใช้ในการบรรเลงทำนอง การเคลื่อนทำนองมีการเคลื่อนทำนองไปในแบบตามขั้นและข้ามขั้นที่ไม่เป็นไปตามทฤษฎี ทิศทางการดำเนินทำนองมีทิศทางขึ้น ลง และคงที่ ความสัมพันธ์ของทิศทางการเคลื่อนทำนองสองแนวที่มีการ การเคลื่อนทำนองสองแนวแบบขนาน การเคลื่อนทำนองสองแนวแบบสวนทาง การเคลื่อนทำนองสองแนวแบบเฉียง มีการใช้โน้ตประดับและการเล่นทำนองที่มีคู่ประสาน อัตราจังหวะที่ใช้ ใช้อัตราจังหวะสี่ธรรมดา ในอัตราความเร็ว 125 มีการใช้โน้ตที่เป็นจังหวะขัดอยู่ค่อนข้างเยอะ เพลงอยู่ในบันได G เมเจอร์ และไม่มีการเปลี่ยนบันไดเสียงระหว่างเพลง โครงสร้างคอร์ดเป็นโครงสร้างตามทฤษฎีดนตรีแต่มีบางท่อนที่มีทางเดินคอร์ดไม่เป็นไปตามทฤษฎี คอร์ดที่ใช้จะเป็นคอร์ดพื้นฐาน และคอร์ดในแบบต่าง ๆ คือ Seventh Chords, Extended chords, Added tone chords, Slash chord, Secondary dominant เป็นต้น รูปแบบเพลงที่ใช้รูปแบบสามตอน A B A’ ทางด้านประโยคเพลงมีประโยคถาม – ประโยคตอบ ที่มีหลายรูปแบบ คือ ลักษณะจังหวะที่มีโครงสร้างเหมือนกัน และความยาวเท่า ๆ กัน, ลักษณะที่รูปร่างขึ้นลงทำนองใกล้เคียงกัน และลักษณะที่มีความยาวเท่า ๆ กันและมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง มีการใช้เคเดนซ์หรือจุดพักประโยค 3 ลักษณะ คือ เคเดนซ์ปิดแบบสบูรณ์, เคเดนซ์กึ่งปิดและเคเดนซ์ขัด 
     คำสำคัญ แนวคิดและการประพันธ์, กีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์, พิจักษณ์ วีระไทย 
ผู้เขียน
595220005-3 นาย เศรษฐศักดิ์ ไสวงาม [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0