2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคแอนแทรคโนสพริกในแนวกว้างและช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 2 ตุลาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 125/62 
     ปีที่ 48 
     ฉบับที่
     เดือน ม.ค.-ก.พ.
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคแอนแทรคโนสพริกในแนวกว้าง และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชด้วย ดำเนินการวิจัยโดยนำเชื้อแบคทีเรีย11 ไอโซเลต ได้แก่ Bacillus spp. Bacillus-Ba029, Bacillus-Ba033, Bacillus-Ba037N, Bacillus-NTS3, Bacillus-MS4, Bacillus-S32, Bacillus-PSK, Bacillus-BS, Bacillus-BK, Streptomyces-PR15 และStreptomyces-PR87มาทดสอบความสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides, C.capsici และ C. acutatum โดยวิธี dual culture bioassay พบว่าเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ 9 ไอโซเลต ได้แก่ Streptomyces-PR15, Streptomyces-PR87, Bacillus-Ba029, Bacillus-Ba033, Bacillus-NTS3, Bacillus-MS4, Bacillus-S32, Bacillus-BS และBacillus-BKสามารถยับยั้งเส้นใยของเชื้อรา Colletotrichum spp.ทั้ง 3 สปีชีส์ได้อย่างชัดเจน เส้นใยของเชื้อราบริเวณที่เกิดแนวยับยั้งมีลักษณะบวมพอง เส้นใยเสียสภาพแตกหัก ส่วน Bacillus-Ba037N และ Bacillus-PSK ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Colletotrichum spp. บางไอโซเลตได้เพียงเล็กน้อย เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 11 ไอโซเลตสามารถสังเคราะห์Indole-3-acetic acid (IAA) ได้มีค่าตั้งแต่ 6.23-19.42 µg/mlโดยไอโซเลต Bacillus-PSK มีค่าIAA สูงที่สุด เท่ากับ 19.42µg/mlและมี 9ไอโซเลตที่มีความสามารถในการละลายฟอสเฟตได้ ได้แก่ Streptomyces-PR15, Streptomyces-PR87, Bacillus-Ba029, Bacillus-Ba033, Bacillus-NTS3, Bacillus-MS4, Bacillus-S32, Bacillus-BS และBacillus-BK โดยเชื้อ Streptomyces-PR87 มีประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟตที่ผสมอยู่ในอาหารทดสอบได้มากที่สุดมีค่า solubilization index (S.I) เท่ากับ 3.5 รองลงมาคือ Bacillus-NTS3 เท่ากับ 3.368 จากผลการวิจัยได้คัดเลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่ควบคุมเชื้อรา Colletotrichum spp. ได้หลายสปีชีส์และมีกลไกการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ดีมากไว้ 4 ไอโซเลต ได้แก่ Streptomyces-PR15, Bacillus-Ba033, Bacillus-Ba029 และ Bacillus-NTS3 สำหรับประเมินประสิทธิภาพการควบคุมโรคแอนแทรกโนสที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์พริกและส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกและการควบคุมโรคแอนแทรกโนสในแปลงปลูกต่อไป 
     คำสำคัญ การควบคุมโดยชีววิธี โรคพริก จุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต  
ผู้เขียน
595030073-4 น.ส. ยลธิดา ชนะชัย [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0