2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ทัศนะของแรงงานรุ่นใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อการย้ายถิ่นไปทำงานในต่างประเทศ กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 4 กันยายน 2551 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 4 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมตักศิลา อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 4 กันยายน 2551 
     ถึง 5 กันยายน 2551 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 197-198 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายขอบเขตความเข้าใจเกี่ยวกับทัศนะของแรงงานรุ่นใหม่ จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อการย้ายถิ่นไปทำงานในต่างประเทศ โดยสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจย้ายถิ่นไปทำงานในต่างประเทศ และศึกษาถึงสิ่งกระตุ้นและความคาดหวังจากการไปทำงานในต่างประเทศ ในมุมมองของแรงงานรุ่นใหม่ โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับการฝึกในหลักสูตรการฝึกเตรียมเข้าทำงาน ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 6 ขอนแก่น ซึ่งเข้าฝึกในช่วงเดือนตุลาคม 2550 – เมษายน 2551 จำนวน 147 คน เก็บข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยแบบโลจิสติกส์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 19.84 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สถานภาพโสด เกิดที่จังหวัดขอนแก่น อยู่ในเขตเมือง มาจากครอบครัวที่มีรายได้หลักจากการรับจ้าง รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือนอยู่ที่ 7,425.17 บาท จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.76 คน จำนวนกำลังแรงงานของครอบครัวเฉลี่ย 2.18 คน โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.90 มีความต้องการย้ายถิ่นไปทำงานในต่างประเทศ โดยเฉพาะไต้หวันและเกาหลี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจย้ายถิ่นไปทำงานในต่างประเทศของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เพศ สถานที่เกิด ที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน อาชีพของครอบครัว จำนวนกำลังแรงงานในครอบครัว และการที่มีสมาชิกในครอบครัวหรือญาติเคยเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ สิ่งกระตุ้นให้อยากไปทำงานในต่างประเทศมากที่สุด คือ การที่มีค่าแรงสูง และความคาดหวังจากการไปทำงานในต่างประเทศ คือ การได้รับประสบการณ์และความรู้ใหม่ 
ผู้เขียน
507080003-0 นาย ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0