2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 
Date of Acceptance 29 June 2011 
Journal
     Title of Journal วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard  
     Institute of Journal ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ISSN 1686-6916 
     Volume ปีที่ 7  
     Issue ฉบับที่ 1  
     Month มกราคม-มิถุนายน
     Year of Publication 2011 
     Page 28-42 
     Abstract อนันต์ พันนึก. 2554. การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์: รศ.ดร.วิโรจน์ สารรัตนะ, ดร.ดิเรก พรสีมา บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมและประเมินประสิทธิภาพโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมหนองคาย เขต 2 แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย มีวิธีการดำเนินการวิจัยและพัฒนา 5 ขั้นตอน คือ 1) การตรวจสอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของโปรแกรมเป็นการตรวจสอบกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี 2) การสร้างรายละเอียดโปรแกรม 3) การตรวจสอบและปรับปรุงโปรแกรม 4) การสร้างเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม ได้แก่ แบบประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง แบบประเมินความรู้ แบบประเมินทักษะตามสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบประเมินการนำความรู้ทักษะใหม่ไปสู่การปฏิบัติงาน และแบบประเมินผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ และ 5) การทดลองโปรแกรมในภาคสนาม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 ส่วน ส่วนที่ 1 ความนำ ส่วนที่ 2 รายละเอียดโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนที่ 3 เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคสนาม และ ส่วนที่ 4 แนวทาง เงื่อนไข ตัวชี้ความสำเร็จในการนำโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ 2. โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีประสิทธิภาพ เห็นได้จาก 1) กลุ่มทดลองมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) หลังการพัฒนาตามโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มทดลอง มีความรู้และทักษะตามสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการนำความรู้ทักษะใหม่สู่การปฏิบัติ และผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 3) หลังการพัฒนาตามโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มทดลอง มีความรู้ และทักษะตามสมรรถนะผู้บริหารตามสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 Anan Phannuek. 2011. Research and Development of Program for Developing the Basic School Administrators’ Competency. Doctor of Philosophy Thesis in Educational Administration, Graduate School, Khon Kaen University. Thesis Advisors: Assoc. Prof. Dr. Wirot Sanrattana, Dr. Direk Pornsima ABSTRACT The objectives of this research were to develop the program, and evaluate the efficient program for developing the Basic School Administrators’ Competency. The target group of this study consisted of the Basic School Administrators under jurisdiction of the Office of Nongkhai Primary Educational Service Area 2, assigning into experimental group and control group, 30 persons each group. They were selected by Simple Sample Random Sampling. There were 5 phases of implementation in Research and Development including: 1) theoretical framework investigation of program as the examination in theoretical framework, 2) the creation of program details, 3) the program investigation and improvement, 4) the construction of instruments for evaluating efficiency of program including: (4.1) the Response Reaction Evaluation Scale, (4.2) the Knowledge Evaluation Form, (4.3) the Skill Evaluation based on competency of Basic School Administrators, (4.4) Evaluation Form of Application in new Knowledge and Skill into Practice, and (4.5) the Evaluation Form of Findings from Work Practice, and 5) the Programs were tried out in field work study by using Quasi-experimental Design. The findings could be concluded as follows: 1. There were 4 parts of program developing Basic School Administrators’ Competency: Part 1; the introduction, Part 2; the details of program for developing Basic School Administrators’ Competency, Part 3; the instrument for evaluating efficiency of program developing Basic School Administrators’ Competency in field work study, and Part 4; the guidelines, conditions, and indicators of success in applying the program developing Basic School Administrators’ Competency. 2. The efficient program for developing the Basic School Administrators’ Competency, could be viewed from: 1) the experimental group reacted on program for developing the Basic School Administrators, in overall and each aspect, were in “High” level, 2) after development based on the program for developing Basic School Administrators’ competency, the experimental group obtained higher level of knowledge and skill based on the Basic School Administrators’ Competency, they applied new knowledge into practice, and performances from practices, than before the development at .01, and .05 level, and 3) after development based on program for developing the Basic School Administrators’ Competency, from the experimental group, they obtained knowledge and skill based on Basic School Administrators’ Competency, the performances from practices, were significant higher than those of control group at .01 level.  
     Keyword การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 
Author
507050092-3 Mr. ANAN PHANNUEK [Main Author]
Education Doctoral Degree

Reviewing Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ตีพิมพ์แล้ว 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0