Custom_32
รายละเอียดของรายวิชา แบบ วช. 04
 
     
  1. รหัสและชื่อวิชา
   
171 360
อุทกวิทยา
HYDROLOGY
3 (3-0-3)
  2. จำนวนหน่วยกิต
    3 หน่วยกิต(จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ บรรยาย 3 ชม. ปฏิบัติการ 0 ชม. ศึกษาด้วยตัวเอง 3 ชม.)
  3. สังกัดวิชา
   
ภาควิชา/สาขาวิชา โยธา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
  4. คำอธิบายรายวิชา(Course Description)
   
วัฎจักรของน้ำ งบดุลของน้ำ การไหลของน้ำในลำน้ำและน้ำใต้ดิน การระเหยและการคายระเหย การซึม การวิเคราะห์ ชลภาพ เอกชลภาพและการประยุกต์ การคำนวณหาการไหลสูงสุดจากพื้นที่รับน้ำ การประเมินปริมาณน้ำหลาก การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อการออกแบบทางชลศาสตร์ การหาขนาดและ
Hydrologic cycle, water budget, stream flow and ground water flow, evaporation and vapotranspiration, infiltration, hydrogra[h analysis, unit hydrograph and its application, flood peak calculation, runoff estimation, statistical analysis for hydraulic
  5. เงื่อนไขของรายวิชา(Prerequisite)
    มี เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หรือต้องได้รับอนุญาตจากภาควิชาฯ ก่อน
  6. ประเภทวิชา
    เป็น
เป็น
  7. ภาคการศึกษาที่เปิดสอน และปีการศึกษาที่จะเริ่มเปิดสอน
    เปิดสอนประจำภาคการศึกษาต้นหรือ1และภาคการศึกษาปลายหรือ2 เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นต้นไป
  8. อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษา
   
รศ.ดร. วิโรจน์ ชัยธรรม
     
 
  หัวข้อ บรรยาย (จำนวน ชม.) ปฏิบัติ (จำนวน ชม.)
    1. บทนำเรื่องอุทกวิทยา และอุทกวิทยาในงานวิศวกรรม วัฏจักรอุทกวิทยา และสมดุลของน้ำ 3 0
    2. สภาพภูมิอากาศ บรรยากาศ พลังงานแสงอาทิตย์ การหมุนเวียนของบรรยากาศ อุณหภูมิและความชื้น ลมและความกดอากาศ สถานีตรวจอากาศ ระบบดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา 5 0
    3. การวิเคราะห์ทางสถิติ สถิติอย่างง่าย การวิเคราะห์สมการเส้นตรง หลักการและการกระจายของความน่าจะเป็น การเลือกข้อมูล คาบการเกิดซ้ำและความเสี่ยง การวิเคราะห์การเกิดซ้ำ 5 0
    4. น้ำฝน การเกิดฝนตกในลักษณะต่างๆ การวัดและการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝน กราฟข้อมูลน้ำฝน 5 0
    5. การคายระเหย การระเหยและตัวแปรที่มีผลต่อการระเหย การวัดและการคำนวณ การคายน้ำและตัวแปรที่มีผลต่อการคายน้ำของพืช การวัดและการคำนวณ การคายระเหย การวัดและการคำนวณ 4 0
    6. น้ำใต้ดิน กำเนิดน้ำใต้ดิน การสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างดินและน้ำ การไหลของน้ำใต้ดิน ชลศาสตร์บ่อน้ำ การคำนวณความซึมได้ทั้งแบบสมดุลและไม่สมดุล การจัดการน้ำใต้ดิน 5 0
    7. การดักและการซึม การดักและตัวแปรที่มีผลต่อการดัก การวัด ตัวแปรที่มีผลต่อการซึม ลักษณะการซึม การวัด และการคำนวณ ดัชนีการซึม 3 0
    8. การวัดอัตราการไหลในลำน้ำ ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลกับเวลา การสร้างชลภาพหนึ่งหน่วย การสังเคราะห์ชลภาพหนึ่งหน่วย การใช้งาน 7 0
    9. น้ำหลาก ตัวแปรที่มีผลต่อน้ำหลาก การคำนวณน้ำหลากสูงสุด การประยุกต์ใช้งาน 3 0
    10. การเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นในทางน้ำธรรมชาติ สมการเก็บกัก การทำนายปริมาณน้ำหลากในลำน้ำ และการประมาณน้ำหลากสูงสุดในอ่างเก็บน้ำ การหาขนาดอ่างเก็บน้ำ ตะกอนในอ่างเก็บน้ำ 5 0
 
รวม
45 0


 
กลุ่มภารกิจพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร 043 203200 ภายใน 11940