Custom_32
รายละเอียดของรายวิชา แบบ วช. 04
 
     
  1. รหัสและชื่อวิชา
   
370 783
ปฏิบัติจิตเวช 3
Psychiatric Practice III
6 (0-18-9)
  2. จำนวนหน่วยกิต
    6 หน่วยกิต(จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ บรรยาย 0 ชม. ปฏิบัติการ 18 ชม. ศึกษาด้วยตัวเอง 9 ชม.)
  3. สังกัดวิชา
   
ภาควิชา/สาขาวิชา จิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์
  4. คำอธิบายรายวิชา(Course Description)
   
ปฏิบัติงานที่หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะในภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปฏิบัติการสร้างความสัมพันธ์เชิงการรักษากับเด็กและวัยรุ่น เทคนิคการสัมภาษณ์ การตรวจสภาพจิต การประเมินด้านพัฒนาการของเด็ก การรักษาด้วยวิธีการละเล่น ให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำแก่บิดามารดาและผู้ดูแลเด็ก หรือให้ความเห็นทางจิตเวชศาสตร์ด้วยความยุติธรรม การให้คำปรึกษาด้านปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนที่โรงเรียน    
Practice in child and adolescence psychiatry in the university hospital particularly in  Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital and Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University.  Practice for therapeutic alliance with child and adolescence, interview technique, mental status examination, psychological developmental assessment, play therapy, counseling and parental guidance, psychiatric opinions in justice, counseling about mental health problem of students at school.
  5. เงื่อนไขของรายวิชา(Prerequisite)
    ไม่มี
  6. ประเภทวิชา
    เป็น เป็นวิชาบังคับสำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
เป็น
  7. ภาคการศึกษาที่เปิดสอน และปีการศึกษาที่จะเริ่มเปิดสอน
    เปิดสอนประจำภาคการศึกษาต้นหรือ1 เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป
  8. อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษา
   
รศ. นิรมล พัจนสุนทร
     
 
  หัวข้อ บรรยาย (จำนวน ชม.) ปฏิบัติ (จำนวน ชม.)
    1. ทักษะการสัมภาษณ์ผู้ป่วยจิตเวชเด็ก ตรวจร่างกายและพัฒนาการ ตรวจสภาพจิตเด็กและวัยรุ่นทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน 0 30
    2. ทักษะการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชเด็ก ทั้งเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (ICD-10) และเกณฑ์ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (DSM-IV) และการวินิจฉัยแยกโรค 0 20
    3. ทักษะการเขียนรายงานทางการแพทย์ อย่างละเอียดและถูกต้อง 0 20
    4. ทักษะการแปลผลแบบทดสอบระดับสติปัญญาและการเรียนรู้ 0 10
    5. ทักษะการตั้งสมมติฐานทางจิตพลวัตร (Psychodynamic formulation) ในการเกิดความเจ็บป่วยทางจิตของผู้ป่วยเด็กแต่ละคน 0 20
    6. ทักษะการทำจิตบำบัดโดยใช้การละเล่น (play therapy) สำหรับผู้ป่วยจิตเวชเด็ก 0 10
    7. ทักษะการทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพ และสหสถาบัน 0 10
    8. ทักษะการให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็ก 0 20
    9. ทักษะการกระตุ้นพัฒนาการในเด็กออทิสติก 0 20
    10. ทักษะการช่วยเหลือเด็กที่ประสบภาวะวิกฤตจากการถูกกระทำรุนแรง 0 20
    11. ทักษะการวางแผนการรักษาและจำหน่ายผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในหอผู้ป่วย 0 20
    12. ทักษะการสื่อสาร ประสานงานกับแพทย์ต่างแผนก กรณีผู้ป่วยทีมีความซับซ้อนในความเจ็บป่วยและต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางต่างสาขา 0 20
    13. ทักษะการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชเด็กฉุกเฉิน 0 20
    14. ทักษะการอ่านและวิเคราะห์ผลงานวิจัย นำเสนอในที่ประชุมวารสารสโมสร 0 10
    15. ทักษะการอ่านและสรุปบทความทางวิชาการ นำเสนอในที่ประชุมวิชาการประจำสัปดาห์ของภาควิชา 0 5
    16. ทักษะการเตรียมผู้ป่วยกรณีศึกษา นำเสนอและร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรค การวางแผนการรักษา และการพยากรณ์โรค 0 5
    17. ทักษะการให้ความเห็นเป็นพยานทางคดีในศาล กรณีผู้ป่วยจิตเวชเด็ก 0 5
    18. ทักษะการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กนักเรียน ตามโครงการอนามัยโรงเรียน 0 5
 
รวม
0 270


 
กลุ่มภารกิจพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร 043 203200 ภายใน 11940