Custom_32
รายละเอียดของรายวิชา แบบ วช. 04
 
     
  1. รหัสและชื่อวิชา
   
450 444
เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติทางห้องปฏิบัติการคลินิก
Autoanalyzers in Clinical Laboratory
1 (1-0-1)
  2. จำนวนหน่วยกิต
    1 หน่วยกิต(จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ บรรยาย 1 ชม. ปฏิบัติการ 0 ชม. ศึกษาด้วยตัวเอง 1 ชม.)
  3. สังกัดวิชา
   
ภาควิชา/สาขาวิชา ทุกภาควิชา
คณะเทคนิคการแพทย์
  4. คำอธิบายรายวิชา(Course Description)
   

หลักการทำงานของระบบเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ องค์ประกอบและขั้นตอนการทำงาน การควบคุมคุณภาพ การบำรุงรักษาและการพิจารณาคุณสมบัติของเครื่อง วิเคราะห์อัตโนมัติที่ใช้ในงานห้องปฏิบัติการคลินิก ได้แก่ เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติทางเคมีคลินิก ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก โลหิตวิทยา การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ จุลชีววิทยาคลินิก ไวรัสวิทยาคลินิก ยาและพิษวิทยา การรักษาดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤต ตลอดจนแนวโน้มการพัฒนาเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ และการคัดเลือกเครื่อง

Principle of automated system, component and operation steps, quality assurance, maintenance and specification consideration of automation used in clinical laboratories such as automation in clinical chemistry, clinical immunology, clinical hematology, urine analysis, clinical microbiology, clinical virology, drugs and toxicology, point of care testing, including trends of automation and selection of the instruments.

 

  5. เงื่อนไขของรายวิชา(Prerequisite)
    ไม่มี
  6. ประเภทวิชา
    เป็น
เป็น
  7. ภาคการศึกษาที่เปิดสอน และปีการศึกษาที่จะเริ่มเปิดสอน
    เปิดสอนประจำภาคการศึกษาต้นหรือ1 เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป
  8. อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษา
   
รศ.ดร. พัชรี เจียรนัยกูร
     
 
  หัวข้อ บรรยาย (จำนวน ชม.) ปฏิบัติ (จำนวน ชม.)
    1.ภาพรวมและแนวคิดของระบบเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติที่ใช้ทางห้องปฎิบัติการคลินิก 1 0
    2.เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติในงานวิเคราะห์ทางเคมีคลินิก 1 0
    3.เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติในงานวิเคราะห์ทางภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก 1 0
    4.เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติในงานวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยา 1 0
    5.เครื่องวิเคราะห์ในงานตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ 1 0
    6.เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติในงานวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาคลินิก 1 0
    7.เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติในงานวิเคราะห์ระดับยาและพิษวิทยา 1 0
    8.เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติในงานวิเคราะห์ผู้ป่วยในภาวะวิกฤต (point of care testing) 1 0
    9.เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติในงานวิเคราะห์ทางไวรัส (Viral load automation) 1 0
    10.เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติที่มีความสามารถตรวจวิเคราะห์งานหลายชนิด (Consolidated automation) 1 0
    11.เทคโนโลยีไมโครอะเรย์และการพัฒนาสู่เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติทางการแพทย์ 1 0
    12.เครื่องอัตโนมัติสำหรับการเตรียมและจัดการสิ่งส่งตรวจ(Pre-analytical automation) 1 0
    13.ซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการห้องปฎิบัติการ 1 0
    14.การคัดเลือกและการพิจารณาคุณสมบัติเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ 2 0
 
รวม
15 0


 
กลุ่มภารกิจพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร 043 203200 ภายใน 11940