Custom_32
รายละเอียดของรายวิชา แบบ วช. 04
 
     
  1. รหัสและชื่อวิชา
   
462 314
ปฏิบัติการเคมีคลินิก 2
Clinical Chemistry Laboratory ll
2 (0-6-6)
  2. จำนวนหน่วยกิต
    2 หน่วยกิต(จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ บรรยาย 0 ชม. ปฏิบัติการ 6 ชม. ศึกษาด้วยตัวเอง 6 ชม.)
  3. สังกัดวิชา
   
ภาควิชา/สาขาวิชา ทุกภาควิชา
คณะเทคนิคการแพทย์
  4. คำอธิบายรายวิชา(Course Description)
   

ปฏิบัติการเกี่ยวกับสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก การประเมินวิธีการตรวจวัด การควบคุมคุณภาพ การคำนวณหาค่าอ้างอิง ปฏิบัติการเกี่ยวกับการทดสอบความผิดปกติของคาร์โบไฮเดรต ลิพิด และไลโปโปรตีน น้ำและอิเล็กโทรไลต์ รวมทั้งสภาวะความสมดุลของกรดด่างในร่างกาย และปฏิบัติการเกี่ยวกับการทดสอบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ตับอ่อน หัวใจ ตับและไต

Clinical chemistry laboratory practice such as, specimen processing; evaluation of detection methods; quality control; reference value calculation; laboratory tests for carbohydrate; lipid, lipoprotein, water, electrolytes and acid-base balance disorders; and practice of functional tests for pancreas, cardiac, liver and renal, respectively.

  5. เงื่อนไขของรายวิชา(Prerequisite)
    มี รายวิชาควบ 462 313 หรือ 462 313 #
  6. ประเภทวิชา
    เป็น
เป็น
  7. ภาคการศึกษาที่เปิดสอน และปีการศึกษาที่จะเริ่มเปิดสอน
    เปิดสอนประจำภาคการศึกษาต้นหรือ1 เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นไป
  8. อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษา
   
รศ.ดร. เต็มดวง ลิ้มไพบูลย์
     
 
  หัวข้อ บรรยาย (จำนวน ชม.) ปฏิบัติ (จำนวน ชม.)
    1.การเตรียมสิ่งส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการ 0 3
    2.การคำนวณเกี่ยวกับการประเมินวิธีการตรวจวัด 0 6
    3.การควบคุมคุณภาพทางห้องปฎิบัติการ การเขียน กราฟชนิดต่างๆรวมทั้งการคำนวณ 0 9
    4.การคำนวณหาค่าอ้างอิง 0 3
    5.การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำไขสันหลัง รวมทั้งการตรวจวัด glucose tolerance test และฟรุคโตซามีน 0 9
    6.การตรวจวัดระดับอะไมเลส (amylase) 0 3
    7.การตรวจวัดระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเทอรอล เอชดีแอล แอลดีแอล และการแยกไลโปโปรตีนโดยวิธีอิเล็กโทรโฟรีซิส 0 9
    8.การตรวจวัดเอนไซม์เลคเตตดีไฮโดรจีเนส 0 3
    9.การตรวจวัดการทำงานของตับ เช่น การตรวจระดับของโปรตีน อัลบูมิน บิลิรูบิน เอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส เอนไซม์แกมมากลูตามิลทรานซะเฟอเรส และเอนไซม์ทรานซะมีเนส เป็นต้น 0 18
    10.การตรวจวัดการทำงานของไต เช่น การตรวจระดับของยูเรียไนโตรเจน ครีอะตินิน และ creatinine clearance รวมทั้ง ระดับของยูริก โปรตีนในปัสสาวะ และออสโมลาลิตี 0 15
    11.การตรวจวัดโซเดียม โปตัสเซียม คาร์บอนไดออกไซด์ และคลอไรด์ 0 12
 
รวม
0 90


 
กลุ่มภารกิจพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร 043 203200 ภายใน 11940