Custom_32
รายละเอียดของรายวิชา แบบ วช. 04
 
     
  1. รหัสและชื่อวิชา
   
464 322
เวชศาสตร์การบริการโลหิต
Transfusion Medicine
2 (2-0-1)
  2. จำนวนหน่วยกิต
    2 หน่วยกิต(จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ บรรยาย 2 ชม. ปฏิบัติการ 0 ชม. ศึกษาด้วยตัวเอง 1 ชม.)
  3. สังกัดวิชา
   
ภาควิชา/สาขาวิชา ทุกภาควิชา
คณะเทคนิคการแพทย์
  4. คำอธิบายรายวิชา(Course Description)
   

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบหมู่โลหิตของมนุษย์ วิทยาภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวข้องกับการบริการโลหิต ตลอดจนปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของโลหิต การรับบริจาคโลหิต การตรวจกรองผู้บริจาคโลหิต การตรวจโลหิตที่ได้รับบริจาค การเก็บโลหิต การเตรียมส่วนแยกต่าง ๆ ของโลหิต การเตรียมโลหิตให้ผู้ป่วย ปฏิกิริยาและการตรวจหาสาเหตุที่เกิดจากการรับโลหิต โรคเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกคลอด และการเตรียมโลหิตสำหรับภาวะดังกล่าว รวมทั้งเทคนิคพิเศษต่างๆที่ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการให้โลหิต การประกันคุณภาพในการบริการโลหิต

Basic knowledge on human blood group systems, blood transfusion immunology and blood group immunological reactions, blood donation, donor screening, blood donor collection and processing, preparations of blood components, compatibility test, transfusion reaction and investigation, hemolytic disease of the newborn and compatibility test for exchange transfusion as well as special techniques applicable for problem solving in transfusion medicine, quality assurance in transfusion medicine.

 

  5. เงื่อนไขของรายวิชา(Prerequisite)
    มี 464 212#
  6. ประเภทวิชา
    เป็น
เป็น
  7. ภาคการศึกษาที่เปิดสอน และปีการศึกษาที่จะเริ่มเปิดสอน
    เปิดสอนประจำภาคการศึกษาปลายหรือ2 เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นไป
  8. อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษา
   
รศ. ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ
     
 
  หัวข้อ บรรยาย (จำนวน ชม.) ปฏิบัติ (จำนวน ชม.)
    1.ภูมิคุ้มกันโลหิตวิทยาและการบริการโลหิต พันธุศาสตร์ และภูมิคุ้มกันวิทยาของหมู่โลหิตของมนุษย์ 1 0
    2.ปฏิกิริยาการจับกลุ่มของแอนติเจนและแอนติบอดีต่อหมู่โลหิตบนเม็ดเลือดแดง 1 0
    3.การทดสอบแอนติโกลบูลินและการประยุกต์ใช้ 1 0
    4.เทคนิคการตรวจหาหมู่โลหิตและการตรวจกรองแอนติบอดี 1 0
    5.หมู่โลหิตมนุษย์ 1 : ระบบ เอบีโอ และ ลูอิส 2 0
    6.หมู่โลหิตมนุษย์ 2 : ระบบ อาร์เอช เคล ดัฟฟี และคิด 2 0
    7.หมู่โลหิตมนุษย์ 3 : ระบบ ไอ พี เอ็มเอ็นเอส และ เอ็มไอเอ 1 0
    8.แอนติเจนบนเม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด และโปรตีนในซีรัม 1 0
    9.การบริจาคโลหิต การคัดกรองผู้บริจาคโลหิต การตรวจโลหิตที่ได้รับบริจาค ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้จากการบริจาคโลหิต และ การบริจาคโลหิตเพื่อให้แก่ตนเอง 2 0
    10.ส่วนประกอบของโลหิต การเตรียมและแยกส่วนประกอบของโลหิตและการประยุกต์ใช้ 2 0
    11.การเก็บรักษาโลหิตและสารกันเลือดแข็ง 1 0
    12.การทดสอบความเข้ากันได้ของโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต :การนำไปใช้และข้อจำกัด 2 0
    13.ผลแทรกซ้อนหรือปฎิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นได้จากการรับโลหิตและการตรวจสอบหาสาเหตุ 2 0
    14.การตรวจแยกความจำเพาะของแอนติบอดีในซีรัม 1 0
    15.เทคนิคพิเศษทางคลังเลือด 2 0
    16.โรคเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกคลอดและการเตรียมโลหิตเพื่อการถ่าย 2 0
    17.ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการเตรียมโลหิต : ความไม่สอดคล้องกันของผลการตรวจหมู่โลหิต เอบีโอ บนเซลล์และในซีรัม 2 0
    18.ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการเตรียมโลหิต : การเตรียมโลหิตให้ผู้ป่วย กรณีผลการทดสอบให้ผลบวกในปฎิกิริยาแอนติโกลบูลิน 2 0
    19.การประกันคุณภาพในการบริการโลหิต 2 0
 
รวม
30 0


 
กลุ่มภารกิจพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร 043 203200 ภายใน 11940