Custom_32
รายละเอียดของรายวิชา แบบ วช. 04
 
     
  1. รหัสและชื่อวิชา
   
464 323
ปฏิบัติการเวชศาสตร์การบริการโลหิต
Laboratory in Transfusion Medicine
1 (0-3-1)
  2. จำนวนหน่วยกิต
    1 หน่วยกิต(จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ บรรยาย 0 ชม. ปฏิบัติการ 3 ชม. ศึกษาด้วยตัวเอง 1 ชม.)
  3. สังกัดวิชา
   
ภาควิชา/สาขาวิชา ทุกภาควิชา
คณะเทคนิคการแพทย์
  4. คำอธิบายรายวิชา(Course Description)
   

การใช้เครื่องมือ และเทคนิคพื้นฐานในการทดสอบและอ่านผลปฏิกิริยาระหว่างเม็ดเลือดแดงและแอนติบอดีต่อหมู่โลหิต การทดสอบไดเรคและอินไดเรคแอนติโกลบูลิน การตรวจหาหมู่โลหิต เอบีโอ แอนติเจนดี การรับบริจาคโลหิต การคัดกรองผู้บริจาคโลหิต การตรวจโลหิตที่ได้รับบริจาค การเก็บโลหิต การเตรียมส่วนแยกต่างๆของโลหิต การเตรียมโลหิตให้ผู้ป่วย ปฏิกิริยาและการตรวจหาสาเหตุที่เกิดจากการรับโลหิต โรคเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกคลอด และการเตรียมโลหิตสำหรับภาวะดังกล่าว รวมทั้งเทคนิคพิเศษต่างๆที่ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการให้โลหิต

The use of basic equipment and techniques for detection of red cell antigen-antibody reactions, direct and indirect antiglobulin tests, typing of ABO, Rh (D) and other blood group antigens, blood donation, donor screening, collection of blood and donor blood processing, preparations of blood components, compatibility test, transfusion reaction and investigation, hemolytic disease of the newborn and compatibility test for exchange transfusion as well as special techniques applicable for problem solving in transfusion medicine.

  5. เงื่อนไขของรายวิชา(Prerequisite)
    มี รายวิชาควบ 464 322# หรือ 464 322#
  6. ประเภทวิชา
    เป็น
เป็น
  7. ภาคการศึกษาที่เปิดสอน และปีการศึกษาที่จะเริ่มเปิดสอน
    เปิดสอนประจำภาคการศึกษาปลายหรือ2 เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นไป
  8. อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษา
   
รศ. ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ
     
 
  หัวข้อ บรรยาย (จำนวน ชม.) ปฏิบัติ (จำนวน ชม.)
    1.แนะนำการใช้เครื่องมือและวัสดุในปฎิบัติการเวชศาสตร์การบริการโลหิต 0 3
    2.การทดสอบไดเรคแอนติโกลบูลิน และการตรวจกรองแอนติบอดี 0 3
    3.การตรวจหาหมู่โลหิต เอบีโอ และการเตรียมเซลล์เพื่อใช้ในการตรวจหาหมู่เลือดจากซีรัม 0 3
    4.การตรวจหาหมู่โลหิต พี เอ็ม เอ็น และการตรวจหาสารหมู่โลหิต เอบีเอช ในน้ำลาย 0 3
    5.การตรวจหาหมู่โลหิตอาร์เอช ดี 0 3
    6.การบริจาคโลหิต และการเตรียมและแยกส่วนประกอบโลหิต 0 3
    7.การเตรียมน้ำยา CuSO4 เปรียบเทียบการตรวจหาฮีโมโกลบินโดยวิธีการใช้น้ำยา CuSO4 กับค่าฮีโมโกลบิน และฮีมาโตคริท 0 3
    8.การทดสอบความเข้ากันได้ เพื่อการให้โลหิตแก่ผู้ป่วย และการตรวจกรองแอนติบอดีในผู้ป่วย 0 3
    9.การตรวจหาความจำเพาะของแอนติบอดีในผู้ป่วยที่ให้ผลบวกในการตรวจกรองแอนติบอดี 0 3
    10.การปรับมาตรฐานการทำปฎิกิริยาระหว่างเอนไซน์ปาเปนและเม็ดเลือดแดงเพื่อใช้ในการตรวจหาปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดีของหมู่โลหิต 0 3
    11.การตรวจหาสาเหตุโรคเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกคลอดที่เกิดจากปฎิกิริยาของหมู่โลหิต และการเตรียมเลือดที่เข้ากันได้สำหรับการเปลี่ยนถ่ายโลหิตในทารก 0 3
    12.กรณีศึกษา:ความไม่สอดคล้องกันของผลการตรวจหมู่โลหิต เอบีโอ บนเซลล์และในซีรัม 0 3
    13.กรณีศึกษา : การเตรียมโลหิตให้ผู้ป่วยกรณีผลการทดสอบให้ผลบวกในปฏิกิริยาแอนติโกลบูลิน 0 3
    14.การตรวจสอบมาตรฐานน้ำยาแอนติซีรั่มในการตรวจหาหมู่โลหิต เอบีโอ การปรับมาตรฐานเครื่องปั่นเหวี่ยงสำหรับการทดสอบในงานบริการโลหิต 0 3
    15.การตรวจสอบมาตรฐานน้ำยาแอนติซีรั่มในการตรวจหาหมู่โลหิต เอบีโอ การปรับมาตรฐานเครื่องปั่นเหวี่ยงสำหรับการทดสอบในงานบริการโลหิต 0 3
 
รวม
0 45


 
กลุ่มภารกิจพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร 043 203200 ภายใน 11940