Custom_32
รายละเอียดของรายวิชา แบบ วช. 04
 
     
  1. รหัสและชื่อวิชา
   
717 725
อายุรศาสตร์ม้าขั้นสูง
Advanced Equine Medicine
3 (2-3-2)
  2. จำนวนหน่วยกิต
    3 หน่วยกิต(จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ บรรยาย 2 ชม. ปฏิบัติการ 3 ชม. ศึกษาด้วยตัวเอง 2 ชม.)
  3. สังกัดวิชา
   
ภาควิชา/สาขาวิชา
คณะสัตวแพทยศาสตร์
  4. คำอธิบายรายวิชา(Course Description)
   
การเรียนการสอน สัมมนาและอภิปรายเกี่ยวกับการศึกษาอย่างจริงจังในโรคหรือปัญหาที่คัดสรรมา ของระบบต่างๆ ในม้า ในด้านพยาธิสรีรวิทยาของการเกิดโรค การวินิจฉัย การรักษาและการป้องกันโรคที่มักพบในคลินิกม้า ปัญหาทางระบบประสาท ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินหายใจ โรคของระบบต่อมไร้ท่อ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคกล้ามเนื้อและกระดูก โรคที่เกี่ยวข้องกับอาหาร โรคที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังและโรคติดเชื้อ การจัดการสัตว์ป่วย การแปลข้อมูลจากห้องปฏิบัติการ การตัดสินใจรักษา เทคนิคการตรวจวินิจฉัยขั้นสูง กรณีศึกษาในคลินิกม้า คอกม้าหรือในโรงพยาบาลสัตว์ การมีส่วนในคลินิกม้าและปฏิบัติการในโรงพยาบาลสัตว์

            

 Instruction, seminars, and discussions devoted intense study in selected diseases or problems of horses, pathophysiology, diagnosis, treatment, and prevention, commonly encountered in equine practice, neurology, nephrology, respiratory, endocrinology, gastroenterology, musculoskeletal diseases, nutritional-related diseases, exercise-related diseases, and infectious diseases, case management, laboratory data interpretation, therapeutics decision making, and advanced diagnostic techniques. Case study in equine clinic and clinical participation in equine clinic and ambulatory practice .  
  5. เงื่อนไขของรายวิชา(Prerequisite)
    มี สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)
  6. ประเภทวิชา
    เป็นวิชาเฉพาะ
เป็นวิชาเฉพาะ
  7. ภาคการศึกษาที่เปิดสอน และปีการศึกษาที่จะเริ่มเปิดสอน
    ไม่พบข้อมูล
  8. อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษา
   
ผศ.ดร. ประวิทย์ บุตรอุดม
     
 
  หัวข้อ บรรยาย (จำนวน ชม.) ปฏิบัติ (จำนวน ชม.)
    1. การศึกษาและอภิปรายในประเด็นใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของการเกิดโรคหรือปัญหาที่สำคัญทางคลินิกของระบบต่างๆ ในม้า 10 0
    1.1 ระบบประสาท 0 0
    1.2 ระบบขับถ่ายปัสสาวะ 0 0
    1.3 ระบบทางเดินหายใจ 0 0
    1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ 0 0
    1.5 ระบบทางเดินอาหาร 0 0
    1.6 โรคที่เกี่ยวข้องกับอาหาร 0 0
    1.7 โรคของระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง 0 0
    1.8 โรคติดเชื้อ 0 0
    2. การแปลผลทางพยาธิวิทยาคลินิก 3 10
    3. เทคนิคขั้นสูงที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคที่สำคัญในม้า 3 10
    4. การตัดสินใจในการรักษา 4 10
    5. กรณีศึกษาสัตว์ป่วยจากโรงพยาบาลสัตว์ 10 15
 
รวม
30 45


 
กลุ่มภารกิจพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร 043 203200 ภายใน 11940