2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ โปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการรักษาทางกายภาพบำบัดและแบบแพทย์แผนไทยสำหรับวัยสูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 พฤษภาคม 2555 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2555 
     หน้า  
     บทคัดย่อ โปรแกรมการดูแลสุขภาพด้วยตนเองเป็นวิธีหนึ่งที่เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาศัยในชุมชนและอยู่ไกลสถานพยาบาล เพื่อช่วยประหยัดค่าเดินทางและค่ารักษาพยาบาล การรักษาทางกายภาพบำบัด (physical therapy – PT) เป็นวิธีการรักษาพื้นฐานที่นำมาใช้ในการจัดการภาวะข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบันการรักษารูปแบบเดียวกับการรักษาทางกายภาพบำบัด คือ แบบแพทย์แผนไทย (Thai traditional medicine – TTM) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย ปลอดภัย และคนในชุมชนคุ้นเคย การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการดูแลสุขภาพตนเองที่บ้านและร่วมกลุ่มด้วยโปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบปัจจุบันกับแบบแพทย์แผนไทยต่อระดับอาการปวดเข่าโดยใช้แบบประเมิน Visual Analog Scale (VAS) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเข่า และช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่า สำหรับวัยสูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนบ้านศิลาและบ้านเต่านอ จังหวัดขอนแก่น การศึกษาออกแบบโดยการลงให้บริการในชุมชน ได้สุ่มเลือกโปรแกรมการรักษาโดย อาสาสมัครบ้านเต่านอจำนวน 14 คนได้รับโปรแกรมแบบ PT (อายุเฉลี่ย 69.8±8.4 ปี) และบ้านศิลาจำนวน 17 คนได้รับโปรแกรมแบบ TTM (อายุเฉลี่ย 67.8±6.4 ปี) อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มต้องเข้าร่วมกลุ่ม 3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญดูแล ร่วมกับนำโปรแกรมกลับไปทำที่บ้านอย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ วัดตัวแปรทั้งหมดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ใช้สถิติ paired t-test และ analysis of covariance (ANCOVA) การวิเคราะห์ผลภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม ทั้งกลุ่ม PT และ TTM มีค่าคะแนน VAS ลดลง (-3.64±2.31 และ -4.64±1.98 คะแนน ตามลำดับ) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าเพิ่มขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนกล้ามเนื้องอเข่าเพิ่มเฉพาะกลุ่ม TTM เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มไม่พบความแตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่ม TTM มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าซ้ายและขวาทั้ง 2 ข้างดีกว่ากลุ่ม PT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองที่บ้านและร่วมกลุ่มโดยมีผู้เชี่ยวชาญดูแลทั้งแบบ PT และ TTM ตลอดเวลา 8 สัปดาห์ มีผลดีต่อระดับอาการปวดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเข่า 
     คำสำคัญ ข้อเข่าเสื่อม, วัยสูงอายุ, กายภาพบำบัด, นวดไทย, ลูกประคบสมุนไพร 
ผู้เขียน
525090012-1 น.ส. ภาวินี เสริมชีพ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0