2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้เอื้องสายล่องแล่ง (Dendrobium aphyllum (Roxb.) Fischer) ในสภาพปลอดเชื้อ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 14 ธันวาคม 2555 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บรรณาธิการ วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     ISBN/ISSN
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2556 
     หน้า
     บทคัดย่อ ศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเอื้องสายล่องแล่งในหลอดทดลองเพื่อชักนำให้เกิดโพรโทคอร์มบนอาหารสังเคราะห์ ½Murashige and Skoog (½MS) โดยการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA 0, 0.5, 1, 1.5 และ 2 มก./ล. เลี้ยงเป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่าการเพิ่มจำนวนโพรโทคอร์มในอาหาร ½MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต สามารถชักนำให้เกิดโพรโทคอร์มได้ดีที่สุดคือ 0.43 กรัม และเมื่อศึกษา ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโต BA และ NAA ต่อการชักนำให้โพรโทคอร์มกล้วยไม้เอื้องสายล่องแล่งเจริญเป็นต้น โดยเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต NAA 0, 1 และ 2 มก./ล. ร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโต BA 0, 1 และ 2 มก./ล. พบว่าเติม BA 2 มก./ล.และ NAA 2 มก./ล. ชักนำให้เกิดยอดได้มากที่สุดคือ 180 ยอด อาหารที่ชักนำให้ต้นสูงมากที่สุดคืออาหาร ½MS ที่เติม BA 1 มก./ล.และ NAA 2 มก./ล. สามารถชักนำให้ต้นสูงมากที่สุดเท่ากับ 0.93 ซม. ส่วนอาหารที่ชักนำให้เกิดรากมากที่สุดคืออาหาร ½MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต สามารถชักนำให้เกิดรากมากที่สุดคือ 8.44 ราก และอาหารที่ชักนำให้เกิดรากยาวที่สุดคืออาหาร ½MS ที่เติม NAA 1 มก./ล. ให้ความยาวรากคือ 0.60 ซม. ในระยะ 4 เดือน จึงนำอาหารสูตรนี้ไปประยุกต์ชักนำให้เกิดโพรโทคอร์มและเจริญเป็นต้น เพื่อใช้ในการอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์พืชต่อไป 
     คำสำคัญ กล้วยไม้เอื้องสายล่องแล่ง โพรโทคอร์ม การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 
ผู้เขียน
505020195-7 นาย ธวัชชัย ทรัพย์ถิระ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0