2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การทดสอบแบบจำลองการเหนี่ยวนำการเจริญเติบโตและการเสื่อมสลายของฟอลลิเคิลในแพะ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 ธันวาคม 2555 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการสุขภาพสัตว์ภาคเหนือ ประจำปี 2555 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
     สถานที่จัดประชุม คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 ธันวาคม 2555 
     ถึง 14 ธันวาคม 2555 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2555 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 56 
     Editors/edition/publisher คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบแบบจำลองการเหนี่ยวนำการเจริญเติบโตและการเสื่อมสลายของฟอลลิเคิลในแพะ ใช้แพะพื้นเมืองไทยเพศเมีย 16 ตัว สุ่มแพะเข้าสู่กลุ่มการทดลอง 4 กลุ่มๆ ละ 4 ตัว คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม (วันที่ 20) กลุ่มที่ 2 ได้รับฮอร์โมน FSH 1 วัน และหยุดให้ฮอร์โมน 2 วัน (1 d + 2 d W) กลุ่มที่ 3 ได้รับฮอร์โมน FSH 2 วัน และหยุดให้ฮอร์โมน 1 วัน (2 d FSH + 1 d W) และกลุ่มที่ 4 ได้รับฮอร์โมน FSH 3 วัน (3 d FSH) โดยกลุ่ม 3 d FSH ได้รับ FSH (24 mg) แบบลดขนาดในวันที่ 17 18 และ 19 กลุ่ม 2 d FSH + 1 d W ได้รับ FSH (18 mg) ในวันที่ 17 18 และวันที่ 19 หยุดฉีดฮอร์โมนแต่ให้น้ำเกลือแทน และกลุ่ม 1 d FSH + 2 d W ได้รับ FSH (10 mg) ในวันที่ 17 และวันที่ 18 และ 19 หยุดฉีดฮอร์โมนแต่ให้น้ำเกลือแทน ทำการผ่าตัดเก็บรังไข่ในวันที่ 20 เพื่อนับจำนวนและแบ่งฟอลลิเคิลเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก (1-3 mm) กลาง (3-6 mm) และใหญ่ (>6 mm) เจาะดูดฟอลลิเคิลเพื่อประเมินคุณภาพโอโอไซต์และแบ่งคุณภาพเป็น 3 กลุ่ม คือ คุณภาพดี ปานกลาง และต่ำ ผลการทดลองพบว่าแพะในกลุ่ม 3 d FSH มีจำนวนฟอลลิเคิลทั้งหมดมากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่ม 2 d FSH + 1 d W กลุ่ม 1 d FSH + 2 d W และกลุ่มควบคุม อัตราการเก็บโอโอไซต์ในกลุ่มที่ได้รับฮอร์โมน FSH และกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ กลุ่ม 3 d FSH มีโอโอไซต์คุณภาพดีมากที่สุด (50%) และแตกต่างจากกลุ่ม 1 d FSH + 2 d W (10%) จากผลการทดลองแสดงได้ว่าการใช้ฮอร์โมน FSH แบบ 3 วัน (3 d FSH) สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิลในขณะที่กลุ่ม 1 d FSH + 2 d W เหนี่ยวนำให้เกิดการเสื่อมสลายของฟอลลิเคิล ดังนั้นแบบจำลองดังกล่าวได้รับการทดสอบแล้วว่าสามารถใช้ในการเหนี่ยวนำการเจริญเติบโตและการเสื่อมสลายของฟอลลิเคิลในแพะได้ 
ผู้เขียน
517030009-9 นาย ทศพล มูลมณี [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานภาคบรรยายยอดเยี่ยม 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 14 ธันวาคม 2555 
แนบไฟล์
Citation 0