ชื่อบทความ |
คุณสมบัติทางเคมีที่สำคัญบางประการของดินภายใต้อิทธิพลของเกลือในจังหวัดขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
23 มกราคม 2555 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
แก่นเกษตร ฉบับพิเศษ ประจำปี 40 (2555) |
มาตรฐานของวารสาร |
|
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
0125-0485 |
ปีที่ |
40 |
ฉบับที่ |
พิเศษ |
เดือน |
มกราคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2555 |
หน้า |
259-263 |
บทคัดย่อ |
ดินภายใต้อิทธิพลของเกลือเป็นปัญหาที่สำคัญต่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม การวางแผนจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องใช้แผนที่ที่เหมาะสม แผนที่ดินภายใต้อิทธิพลของเกลือฉบับปัจจุบันซึ่งใช้ปริมาณคราบเกลือที่ผิวดินเป็นเกณฑ์ ยังขาดข้อมูลคุณสมบัติทางเคมีที่สำคัญสำหรับแต่ละชั้นจำแนก (class) ของดินนี้ งานวิจัยนี้ดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการใช้ประโยชน์ได้ของแผนที่ดินภายใต้อิทธิพลของเกลือโดยการเพิ่มข้อมูลการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity at saturation extract, ECe) และสัดส่วนการดูดยึดโซเดียม (Sodium Adsorption Ratio, SAR) สำหรับแต่ละ class โดยทำการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ดินภายใต้อิทธิพลของเกลือทุก class ทั่วจังหวัดขอนแก่น แล้ววิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า ดินในพื้นที่ class 1 ถึง class 4 มีค่า ECe อยู่ในช่วง 22.70-194.10 dS m-1 0.56-64.50 dS m-1 0.40-23.10 dS m-1 และ 0.40-14.48 dS m-1 ตามลำดับ ส่วน ค่า SAR อยู่ในช่วง 38.69-159.66 0.87-220.18 0.08-15.80 และ 0.09-1.97 ทั้งนี้คุณสมบัติทางเคมีทั้งสองของดินทุก class มีความแปรปรวนสูงมาก เมื่อจำแนกชนิดของดินภายใต้อิทธิพลของเกลือจากค่า ECe และ SAR ปรากฏว่าดินใน class 1 เป็นดินเค็มโซดิค (saline-sodic soil) อย่างรุนแรง ส่วนดินใน class 2 มีความแปรปรวนตั้งแต่ดินปกติจนถึงดินเค็มโซดิค สำหรับ class 3 และ class 4 โดยทั่วไปดินได้รับผลกระทบจากเกลือต่ำลงตามลำดับ และจัดเป็นดินปกติถึงดินเค็ม (saline soil) |
คำสำคัญ |
ดินภายใต้อิทธิพลของเกลือ การนำไฟฟ้า สัดส่วนการดูดยึดโซเดียม จังหวัดขอนแก่น |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|