2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการเสริม Ethidium bromide หรือ CuSO4 ในปฏิกิริยา Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ต่อการเพิ่มความแม่นยำในการคัดเพศตัวอ่อนโคเนื้อ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 มกราคม 2556 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการเกษตร 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 มกราคม 2556 
     ถึง 29 มกราคม 2556 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 41 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 51-56 
     Editors/edition/publisher แก่นเกษตร 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคัดเพศตัวอ่อนโคเนื้อโดยการเสริม ethidium bromide (EB) หรือ CuSO4 (CS) ในปฏิกิริยา LAMP ทำการเก็บรังไข่โคเนื้อจากโรงฆ่าสัตว์ นำมาเจาะดูดโอโอไซต์จากฟอลลิเคิล ประเมินอัตราการเก็บโอโอไซต์และลักษณะทางสัณฐานวิทยา เพาะเลี้ยงใน TCM-199 ที่ 38.5 ºซ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง กระทั่งได้โอโอไซต์ที่เจริญพร้อมปฏิสนธิ ทำการปฏิสนธิและเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 38.5 ºซ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ประเมินอัตราการปฏิสนธิ จากนั้นเพาะเลี้ยงตัวอ่อนต่อไปอีกจนถึงระยะมอรูล่า ทำการแช่แข็งตัวอ่อน และเก็บตัวอ่อนที่อุณหภูมิ -196 ºซ เพื่อรอการคัดเพศ สุ่มตัวอย่างตัวอ่อนโคเนื้อจำนวน 35 ตัวอย่าง เพื่อสกัด DNA และเพิ่มจำนวนโดยวิธี PCR เก็บตัวอย่าง DNA ไว้ที่อุณหภูมิ -20 ºซ แล้วนำมาคัดเพศโดยวิธี LAMP แบ่งเป็น 3 ทรีทเมนต์ ได้แก่ กลุ่มควบคุม, กลุ่ม LAMP เสริมด้วย 1 mM EB และ กลุ่ม LAMP เสริมด้วย 1 M CS ผลการศึกษาพบว่า เปอร์เซ็นต์การคัดเพศในโคเนื้อโดยการเสริม EB ให้ผลดีกว่าการเสริมด้วย CS และกลุ่มควบคุม (P<0.01) (100.0, 74.3 และ 57.2% ตามลำดับ) ความแม่นยำในโคเนื้อโดยการเสริม EB สูงที่สุด รองลงมา คือ การเสริม CS และกลุ่มควบคุม (P>0.05) (42.5, 35.0 และ 22.5% ตามลำดับ) ดังนั้นสรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้ปฏิกิริยา LAMP โดยการเสริม EB ที่ความเข้มข้น 1 mM สามารถเพิ่มความแม่นยำในการคัดเพศตัวอ่อนโคเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการเสริม CS ที่ความเข้มข้น 1 M ไม่สามารถเพิ่มความแม่นยำในการคัดเพศตัวอ่อนโคเนื้อได้ 
ผู้เขียน
535030028-3 ว่าที่ ร.ต. ศรุติวงศ์ บุญคง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum