2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การส่งเสริมการเจริญเติบโตของอ้อยด้วยแบคทีเรียละลายฟอสเฟต 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 20 กรกฎาคม 2555 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 0125-0485 
     ปีที่ 40 
     ฉบับที่
     เดือน สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2555 
     หน้า 185-193 
     บทคัดย่อ ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมของจุลินทรีย์ในรูปของปุ๋ยชีวภาพสำหรับการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น แบคทีเรียละลายฟอสเฟต (phosphate solubilizing bacteria; PSB) เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากสามารถเปลี่ยนฟอสเฟตในรูปที่ไม่ละลายน้ำ ให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกและคัดเลือกแบคทีเรีย PSB ที่มีกิจกรรมการละลายฟอสเฟตสูงจากดินรอบรากอ้อยที่ปลูกในแปลงเกษตรกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และตรวจสอบผลของแบคทีเรีย PSB ต่อการเจริญเติบโตของอ้อยในสภาพเรือนทดลอง ผลการทดลองพบว่าสามารถแยกแบคทีเรีย PSB ได้ทั้งหมด 19 ไอโซเลต และพบว่าแบคทีเรีย 4 ไอโซเลต ได้แก่ NR-KKU-5-3, UT-KKU-10, UT-KKU-26 และ KK-KKU-32 มีกิจกรรมการละลายฟอสเฟตสูงระหว่าง 179-196 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร การวิเคราะห์สายวงศ์วานวิวัฒนาการของแบคทีเรียทั้ง 4 ไอโซเลต โดยอาศัยลำดับ เบสของยีนในบริเวณ 16S rDNA ชี้ให้เห็นว่า แบคทีเรียเหล่านี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Bacillus megaterium SMS3, B. stratosphericus GD65, B. aryabhattai MDSR11 และ B. altitudinis DYJK5-5 ตามลำดับ การคัดเลือกแบคทีเรีย PSB ที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของอ้อยในสภาพเรือนทดลอง พบว่าการปลูกแบคทีเรียชนิดต่างๆ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต ทำให้อ้อยมีการเจริญเติบโตในทุกด้าน และการสะสมธาตุฟอสฟอรัสในลำต้น สูงกว่าอ้อยชุดควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในจำนวนตำรับการทดลองที่ปลูกแบคทีเรีย PSB ทั้งหมดนี้ พบว่าเชื้อ B. aryabhattai UT-KKU-26 สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของอ้อยได้ดีที่สุดซึ่งเหมาะที่จะพัฒนาเป็นปุ๋ยชีวภาพสำหรับการเพาะปลูกอ้อยต่อไปได้ในอนาคต  
     คำสำคัญ การเจริญเติบโต, แบคทีเรียละลายฟอสเฟต, อ้อย, Bacillus 
ผู้เขียน
535020056-4 นาย ไตรธานี เยี่ยมอ่อน [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum