ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การทดสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของ ดัชนีวัดผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัยในภาคภาษาไทย |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
10 พฤษภาคม 2556 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ |
สถานที่จัดประชุม |
อาคารศูนย์กีฬาและกิจการนักศึกษา อาคารสุราษฎ์ธานี และอาคารยู-พลาซ่า มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ |
จังหวัด/รัฐ |
สงขลา |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
10 พฤษภาคม 2556 |
ถึง |
10 พฤษภาคม 2556 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
4 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
92-100 |
Editors/edition/publisher |
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ |
บทคัดย่อ |
การศึกษานี้มีขึ้นเพื่อประเมินคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบประเมินผล กระทบของสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตในภาคภาษาไทย (Thai-ECOHIS) โดยที่แบบประเมิน Thai-ECOHIS ได้รับการแปลจากภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทยโดยกระบวนการ Forward-Backward Translation และได้รับการทดสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยา (psychometric properties) วิธีการ: ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง เด็กในช่วงอายุ 3-5 ปี และผู้ปกครองในชุมชน จำนวน 414 ตัวอย่าง และมีเด็กกลุ่มย่อยจำนวน 35 คน จะได้รับการถาม Thai-ECOHIS ซ้ำในช่วงเวลา 2 สัปดาห์หลังการสอบถามครั้งแรก การทดสอบความตรงเชิงลู่เข้าได้รับการประเมินโดยเปรียบเทียบคะแนนรวม Thai-ECOHIS กับคำถามทั่วไปในการประเมินสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองของเด็ก และการทดสอบความตรงเชิงจำแนกได้รับการประเมินโดยระหว่างคะแนนรวม Thai-ECOHIS กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (ECC) การทดสอบสัมประสิทธิ์ความสม่ำเสมอภายในประเมินโดยใช้ Cronbach’s alpha การทดสอบสัมประสิทธิ์ความคงที่ถูกประเมินโดยใช้ intra-class-correlation coefficient (ICC) ผลลัพธ์: ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนน Thai-ECOHIS และคะแนนการประเมินสุขภาพช่องปากเด็กโดยผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กันอย่างมี นัยสำคัญที่ P-value น้อยกว่า 0.01 นอกจากนี้ Thai-ECOHIS ยังสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (ECC) ที่ P-value น้อยกว่า 0.05 สำหรับค่าสัมประสิทธิ์ความสม่ำเสมอภายในหรือ Cronbach’s alpha มีค่าคะแนน Thai-ECOHIS ที่ 0.87 และ ค่าสัมประสิทธิ์ความคงที่ หรือ ICC มีค่าเท่ากับ 0.74 สรุป: แบบประเมิน Thai-ECOHIS มีคุณสมบัติทั้งความตรงและความเที่ยงเพียงพอในเพื่อใช้ในการประเมินผลกระ สุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตในประชากรที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลัก |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
11
|
|