2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ เรื่อง การสั่นของสปริง โดยใช้การสาธิตประกอบคำบรรยายอย่างมีปฏิสัมพันธ์ผ่านสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการทดลองด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 20 กันยายน 2556 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการประจำปี 2556 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 กันยายน 2556 
     ถึง 16 กันยายน 2556 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 3-14 
     Editors/edition/publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจมโนติ (Conception Understanding) เรื่อง การสั่นของสปริง ของนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสาธิตประกอบคำบรรยายอย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Lecture Demonstration ผ่านปฏิบัติการด้วยคอมพิวเตอร์ (Microcomputer – Based Laboratory) และการใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) และศึกษาแรงจูงใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองหานวิทยา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 3 ห้องเรียน 139 คน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research methodology) ในรูปแบบการวิจัยแบบหลายกลุ่ม (Multiple-group design) ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสาธิตประกอบคำบรรยายอย่างมีปฏิสัมพันธ์ผ่านสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการทดลองด้วยคอมพิวเตอร์ มีคะแนนความเข้าใจมโนมติ เรื่อง การสั่นของสปริง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิเคราะห์แรงจูงใจในการเรียนรู้ฟิสิกส์ ของผู้เรียนทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความจูงใจภายใน (IM) ด้านความจูงใจในการทำงาน (CM) ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง (SD) ด้านประสิทธิภาพของตนเอง (SE) และด้านความจูงใจในผลการเรียน (GM) พบว่า ผู้เรียนแต่ละกลุ่มที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แต่ละวิธีการที่แตกต่างกันอย่างจำเพาะเจาะจงตามแบบการทดลองนั้น มีคะแนนของแรงจูงใจในการเรียนรู้ฟิสิกส์ของผู้เรียนที่แตกต่างกันเฉพาะในมิติย่อยด้านประสิทธิภาพของตนเอง (SE) เท่านั้น ส่วนด้านอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  
ผู้เขียน
535050046-9 นาย กฤตภัค โคตรหานาม [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0