ชื่อบทความ |
ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านต่ออาการปวด ภาวะจำกัดความสามารถและพิสัยการเคลื่อนไหวของหลังในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างที่ไม่ทราบสาเหตุ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
2 กันยายน 2556 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
สมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
มาตรฐานของวารสาร |
|
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ISBN/ISSN |
0125-8842 |
ปีที่ |
31 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กรกฎาคม-กันยายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2556 |
หน้า |
107-114 |
บทคัดย่อ |
การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมนี้มีวัตถุประสงเพื่อศึกษาผลของโปรแกรม
การออกกำลังกายที่บ้านต่ออาการปวด ภาวะจำกัดความสามารถ และพิสัยการเคลื่อนไหวของหลังในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างที่ไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างที่ไม่ทราบสาเหตุ ที่มารับบริการที่ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 32 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มได้กลุ่มละ 16 คน ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือน 1 ตุลาคม 2555 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายสำหรับข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างและการทดสอบที สำหรับคะแนนความปวด คะแนนภาวะจำกัดความสามารถและพิสัยการเคลื่อนไหวของหลัง
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย มีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวด คะแนนภาวะจำกัดความสามารถ และพิสัยการเคลื่อนไหวของหลังในท่าแอ่นน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = 0.000 พิสัยการเคลื่อนไหวของหลังในท่าก้มไม่แตกต่างกัน (p = 0.585) 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย มีผลต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความปวด ผลต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนภาวะจำกัดความสามารถมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = 0.000, p = 0.020 ตามลำดับ แต่ผลต่างของค่าเฉลี่ยของพิสัยการเคลื่อนไหวของหลังท่าก้มและท่าแอ่นหลังไม่แตกต่างกัน (p = 0.94, p = 0.85)
|
คำสำคัญ |
ปวดหลังส่วนล่างที่ไม่ทราบสาเหตุ ภาวะจำกัดความสามารถ พิสัยการเคลื่อนไหวของหลัง |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|