2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินพันธุกรรมความคงทนของการให้น้ำนมในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชียนที่ให้ลูกครั้งแรกโดยใช้โมเดลรีเกรซชันสุ่ม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 31 มกราคม 2554 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร (Khon Kean Agriculture Journal) 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 39 (2554) 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2554 
     หน้า 63-74 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจำนวนสัมประสิทธิ์ฟังก์ชันความแปรปรวนร่วมรูปแบบ Modified Normalized Legendre Polynomial (MNLP) ที่เหมาะสมสำหรับประกอบในโมเดลรีเกรซชันสุ่ม (Random Regression Model, RRLP) และ 2) ศึกษาสมการทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม สำหรับคำนวณค่าความคงทนของการให้นํ้านม (Persistency of Lactation, PL) โดยใช้โมเดลรีเกรซชันสุ่ม 9 โมเดล ที่มีจำนวนสัมประสิทธิ์ฟังก์ชันความแปรปรวนร่วมรูปแบบ MNLP จำนวน 3 ถึง 5 สัมประสิทธิ์ ซ้อนอยู่ในอิทธิพลทางพันธุกรรมแบบบวกสะสม และทางสิ่งแวดล้อมแบบถาวร สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลบันทึกปริมาณนํ้านมวันทดสอบ จำนวน 25,845 บันทึก จากโคนมลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชียนที่ให้ลูกครั้งแรกของฟาร์มโคนมโชคชัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึง 2547 จำนวน 2,893 ตัว ประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวนด้วยวิธี Average Information-Restricted Maximum Likelihood (AI-REML) และประมาณค่าการผสมพันธุ์ด้วยเทคนิค Best Linear Unbiased Prediction (BLUP) จากการศึกษาเปรียบเทียบโมเดลทั้ง 9 โมเดล พบว่า โมเดล RRLP(3,4) มีความเหมาะสมที่สุดในการใช้ประเมินพันธุกรรมความคงทนของการให้นํ้านม โดยพิจารณาจากจำนวนพารามิเตอร์ที่ต้องทำการประมาณค่ามีจำนวนไม่มาก ค่าประมาณอัตราพันธุกรรมในช่วงเริ่มต้น และ ณ วันให้นํ้านมสูงสุดมีค่าไม่สูงเกินไป และค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างวันให้นํ้านมมีค่าไม่ติดลบ นอกจากนี้เมื่อนำค่าการผสมพันธุ์ที่ได้จาก RRLP(3,4) ไปใช้ในการศึกษาสมการคำนวณค่าความคงทนของการให้นํ้านม 4 รูปแบบ (PL1-PL4) พบว่าสมการ PL3 เป็นสมการที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้ประเมินพันธุกรรมลักษณะความคงทนของการให้นํ้านมในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชียนที่ให้ลูกครั้งแรกของประชากรโคนมฟาร์มโชคชัย เนื่องจาก PL3 ใช้สารสนเทศจากวันให้นํ้านมตลอดการให้นํ้านม และมีค่าสหสัมพันธ์เชิงลำดับสเปียร์แมนเทียบกับค่าการผสมพันธุ์ 305 วัน เท่ากับ 0.04 นั้นหมายถึงการคัดเลือกโคนมจากค่าประมาณการผสมพันธุ์การให้นํ้านม 305 วัน เป็นอิสระจากการคัดเลือกโคนมด้วยค่าความคงทนของการให้นํ้านม 
     คำสำคัญ ความคงทนของการให้นํ้านม, การประเมินพันธุกรรม, โมเดลรีเกรซชันสุ่ม, โคนมลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชียน ที่ให้ลูกครั้งแรก 
ผู้เขียน
527030029-4 นาย ภาคภูมิ เสาวภาคย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0