ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมและแนวโน้มทางพันธุกรรม ของลักษณะลูกตายแรกคลอด มัมมี่ และลูกเกิดมีชีวิต ในสุกร |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
11 มีนาคม 2556 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
สถานที่จัดประชุม |
อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
จังหวัด/รัฐ |
กรุงเทพมหานคร |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
11 มีนาคม 2556 |
ถึง |
13 มีนาคม 2556 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
44 |
Issue (เล่มที่) |
1 (พิเศษ) |
หน้าที่พิมพ์ |
191-194 |
Editors/edition/publisher |
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร |
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมและแนวโน้มทางพันธุกรรมของลักษณะทางระบบสืบพันธุ์ในสุกรพันธุ์ต่างๆ ข้อมูลที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยจำนวนลูกเกิดมีชีวิต (born alive; BA) จำนวนมัมมี่ (mummy; MUM) และจำนวนลูกตายแรกเกิด (still born; SB) จำนวน 182,457 ข้อมูล ซึ่งเก็บบันทึกได้จากฟาร์มเอกชนแห่งหนึ่ง ในช่วงปี พ.ศ. 2503 ถึง 2554 ทำการวิเคราะห์ค่าองค์ประกอบความแปรปรวน ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม และค่าการผสมพันธุ์ ด้วยโปรแกรม
BLUPF90-Pig PAK 2.5 ซึ่งทำการวิเคราะห์แบบหลายลักษณะร่วมกัน โดยใช้ Animal Model และ Repeatability Mode ผล
การศึกษาพบว่าค่าอัตราพันธุกรรมของทุกลักษณะมีค่าอยู่ในช่วง 0.01-0.06 สำหรับค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างลักษณะ
SB กับ BA มีค่าอยู่ในช่วง -0.1 ถึง -0.4 ในสุกรทุกพันธุ์ แต่ในสุกรลูกผสมกลับพบว่ามีค่าดังกล่าวต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาแนวโน้มทาง
พันธุกรรมพบว่าสุกรลูกผสมมีความแปรปรวนของลักษณะที่ทำการศึกษาน้อยกว่าในสุกรพันธุ์แท้ ดังนั้นสุกรลูกผสมจึงเหมาะสำหรับนำไปเป็นสุกรสายแม่พันธุ์มากที่สุด
คำสำคัญ: พารามิเตอร์ทางพันธุกรรม, แนวโน้มทางพันธุกรรม, ลูกตายแรกคลอด, มัมมี่, ลูกเกิดมีชีวิต
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|