2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ชุดข้อมูลแบบบูรณาการเพื่อการจัดการภัยแล้งของลุ่มน้ำชี 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 พฤศจิกายน 2556 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร โรงเรียนนายร้อนพระจุลจอมเกล้า 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2556 
     หน้า 59-73 
     บทคัดย่อ ภัยแล้งเป็นภัยธรรมชาติประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ลุ่มน้ำชีเป็นลุ่มน้ำที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอยู่ในความสนใจของนักวิชาการ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำและปริมาณน้ำที่อาจจะส่งผลกระทบกับประชาชนรวมไปถึงภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ด้วยเหตุที่น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญยิ่ง การตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญด้วยเช่นกัน การตัดสินใจที่ดีจำเป็นต้องอาศัยสารสนเทศที่ดีและมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสนเทศที่ผ่านการวิเคราะห์ กลั่นกรองและประเมินผลด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จากการศึกษา พบว่า ยังขาดการศึกษาและวิเคราะห์สารสนเทศที่จำเป็นสำหรับการจัดการทรัพยากรน้ำของลุ่มน้ำชี สารสนเทศมีอยู่กระจัดกระจายในหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการจัดเก็บที่แยกจากกัน ชุดข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกัน และแตกต่างกันไปตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน และความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำของลุ่มน้ำชี ส่วนหนึ่งเป็นความรู้ที่ฝังลึก (Tacit Knowledge) ของผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นนักวิจัย และนักวิชาการ ซึ่งปรากฏว่าในประเทศไทยยังขาดการนำความรู้จากผู้เชี่ยวชาญมาบูรณาการกับสารสนเทศที่มีอยู่เพื่อทำให้การจัดการทรัพยากรน้ำของลุ่มน้ำชีมีความครอบคลุมและถูกต้องมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิด Knowledge Acquisition Approach (Liou, 1990) เพื่อรวบรวมและจัดเก็บความรู้โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมทรัพยากรน้ำและสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำนวน 10 คน และนักวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำของลุ่มน้ำชี จำนวน 7 คน ผู้เชี่ยวชาญได้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาขอบเขตความรู้ จัดหมวดหมู่ความรู้ เพื่อออกแบบชุดข้อมูลแบบบูรณาการ (Integrated Dataset) ที่จำเป็นต่อออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการภัยแล้งของลุ่มน้ำชี ผลการวิจัย พบว่า ชุดข้อมูลแบบบูรณาการเพื่อการจัดการภัยแล้งของลุ่มน้ำชีที่ได้ออกแบบการจัดหมวดหมู่ความรู้ ตามแนวคิดและขั้นตอนการจัดการภัยแล้งในรูปแบบที่เป็นโครงสร้างลำดับชั้น แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้1) การวางแผนก่อนเกิดภัยแล้ง (Planning) ประกอบด้วยชุดข้อมูลเพื่อการคาดการณ์ (Forecast) การเฝ้าระวัง (Monitoring) และการวางแผน (Planning)2) การปฎิบัติขณะเกิดภัยแล้ง (Response) ประกอบด้วยชุดข้อมูลเพื่อการแจ้งเตือน (Alert) และการให้ความช่วยเหลือ (Emergency) และ 3) ชุดข้อมูลเพื่อการฟื้นฟูหลังเกิดภัยแล้ง (Recovery) 
     คำสำคัญ ชุดข้อมูลแบบบูรณาการ, การจัดการภัยแล้ง, การแสวงหาความรู้, ลุ่มน้ำชี 
ผู้เขียน
517080003-1 นาย ณัฐพงศ์ แก้วบุญมา [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum