2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article พฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุรินทร์ 
Date of Acceptance 21 January 2014 
Journal
     Title of Journal วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     Standard  
     Institute of Journal สมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     ISBN/ISSN 0125-8842 
     Volume 32 
     Issue
     Month เมษายน-มิถุนายน
     Year of Publication 2014 
     Page  
     Abstract การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเข้ารับบริการ ณ โรงพยาบาลชุมชน 5 แห่งในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ โรงพยาบาลสังขะ โรงพยาบาลปราสาท โรงพยาบาลรัตนบุรี โรงพยาบาลศีขรภูมิ และโรงพยาบาลท่าตูม จำนวน 136 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปและแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีของ สุวรรณา บุญยะลีพรรณ (2550) ซึ่งพัฒนาจากกรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของ Pender et al. (2002) นำไปหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือซ้ำโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.28, S.D. = 0.37) 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพรายด้านของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีมาก 2 ด้าน ได้แก่ 1) พฤติกรรมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพขณะได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี ( = 3.55, S.D. = 0.28)และ 2) พฤติกรรมสุขภาพด้านการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ( = 3.53, S.D. = 0.45) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพรายด้านของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี 4 ด้าน ได้แก่ 1) พฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด ( = 3.35, S.D. = 0.60) 2) พฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ ( = 3.27, S.D. = 0.50) 3) พฤติกรรมสุขภาพด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ( = 3.16, S.D. = 0.59) และ 4) พฤติกรรมสุขภาพด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย ( = 2.83, S.D. = 0.71) ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกในการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพในด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพขณะได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีในเรื่องของการป้องการแพร่กระจายเชื้อ โดยเฉพาะการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย ด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลด้านโภชนาการ ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของผู้ป่วยในวัยแรงงาน เพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมอย่างยั่งยืน  
     Keyword พฤติกรรมสุขภาพ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงาน ยาต้านไวรัสเอชไอวี  
Author
545060019-7 Mr. WANNACHART TALERD [Main Author]
Nursing Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0