2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ เคอร์คูมินเพิ่มระดับกลูตาไทโอนในตับหนูไมซ์ที่ถูกชักนำภาวะเครียดโดยการแยกเลี้ยงเดี่ยว 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 7 ตุลาคม 2556 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 7 “ควำมมั่นคงด้ำนอำหำรและโภชนำกำรในบริบทของอำเซียน” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และภาคีเครือข่ายด้านอาหารและโภชนาการ 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์นิทรรศกำรและกำรประชุมไบเทค บำงนำ กรุงเทพฯ 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพฯ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 7 ตุลาคม 2556 
     ถึง 8 ตุลาคม 2556 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) ึ7 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 187 
     Editors/edition/publisher สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และภาคีเครือข่ายด้านอาหารและโภชนาการ 
     บทคัดย่อ คำนำ: การถูกแยกเลี้ยงเดี่ยวในหนูซึ่งเป็นสัตว์สังคม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ชักนำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น ส่งผลให้มีการลดต่ำลงของระดับกลูตาไทโอนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์ ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ตามมา วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของเคอร์คูมินต่อระดับกลูตาไทโอนในตับหนูไมซ์ที่ถูกชักนำภาวะเครียดโดยการแยกเลี้ยงเดี่ยว วิธีดำเนินการ: หนูไมซ์สายพันธุ์ ICR เพศผู้ อายุ 3 สัปดาห์ แบ่งเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 5 ตัว กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม ให้ 0.5% carboxymethylcellulose ใน 0.9% normal saline solution (CMC-NSS) กลุ่มที่ 2-4 เป็นกลุ่มที่ได้รับการชักนำภาวะเครียดโดยการแยกเลี้ยงเดี่ยวหนูไมซ์กรงละ 1 ตัว เป็นเวลานาน 6 สัปดาห์ หลังการชักนำฯ ให้สารทดสอบดังนี้ กลุ่มที่ 2 ให้ CMC-NSS กลุ่มที่ 3 ให้เคอร์คูมินขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน กลุ่มที่ 4 ให้เคอร์คูมินขนาด 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน และกลุ่มที่ 5 ให้อิมิพรามีนขนาด 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นทำการตรวจวัดระดับกลูตาไทโอนในตับหนูไมซ์ ผลการวิจัย: การแยกเลี้ยงเดี่ยวส่งผลให้ระดับกลูตาไทโอนในตับหนูไมซ์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่เคอร์คูมินขนาด 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน มีผลเพิ่มระดับกลูตาไทโอนอย่างมีนัยสำคัญ วิจารณ์และสรุปผล: เคอร์คูมินมีศักยภาพในการต้านภาวะเครียดออกซิเดชั่นในตับหนูไมซ์ที่ถูกชักนำภาวะเครียดจากการแยกเลี้ยงเดี่ยวโดยการเพิ่มระดับกลูตาไทโอน 
ผู้เขียน
555150005-8 น.ส. วันทณี ช่วยหาญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum