ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ผลของเคอร์คูมินต่อระบบต้านภาวะเครียดออกซิเดชั่นในหนูเมาส์ ที่ถูกชักนำภาวะเครียดโดยการแยกเลี้ยงเดี่ยว |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
28 มีนาคม 2557 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
สถานที่จัดประชุม |
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลับขอนแก่น |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
28 มีนาคม 2557 |
ถึง |
28 มีนาคม 2557 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
15 |
Issue (เล่มที่) |
- |
หน้าที่พิมพ์ |
135 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การถูกแยกเลี้ยงเดี่ยวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ชักนำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเคอร์คูมินต่อสมรรถนะของเอนไซม์ในระบบต้านภาวะเครียดออกซิเดชั่น ได้แก่ เอนไซม์คะตาเลส (Catalase, CAT) และกลูตาไทโอนเปอร์ออกซิเดส (Glutathione peroxidase, GPx) รวมถึงระดับลิปิดเปอร์ออกซิเดชั่นในตับหนูเมาส์ที่ถูกชักนำภาวะเครียดโดยการแยกเลี้ยงเดี่ยว โดยหนูเมาส์สายพันธุ์ ICR เพศผู้ได้รับการชักนำภาวะเครียดโดยการแยกเลี้ยงเดี่ยวเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนให้เคอร์คูมิน (ขนาด 10 และ 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ) เปรียบเทียบกับอิมิพรามีน (ขนาด 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน) ทุกวัน วันละ 1 ครั้ง นาน 2 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าการแยกเลี้ยงเดี่ยวส่งผลให้ระดับเอนไซม์ CAT และ GPx รวมถึงระดับลิปิดเปอร์ออกซิเดชั่นในตับเพิ่มขึ้น อิมิพรามีนและเคอร์คูมินสามารถลดระดับเอนไซม์ CAT และ GPx และระดับลิปิดเปอร์ออกซิเดชั่นในตับหนูเมาส์ที่ถูกชักนำภาวะเครียดจากการแยกเลี้ยงเดี่ยวได้ โดยศักยภาพของเคอร์คูมินเป็นไปในลักษณะที่ขึ้นกับขนาดของเคอร์คูมินด้วย |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|