2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การจัดการผลิตและการตลาดของข้าวพันธุ์สกลนครและข้าวก่ำในจังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 มีนาคม 2557 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 มีนาคม 2557 
     ถึง 28 มีนาคม 2557 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 15 
     Issue (เล่มที่) 1906-2014 
     หน้าที่พิมพ์ 3113-3122 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การศึกษานี้เป็นการศึกษากิจกรรมด้านการผลิตและการตลาดของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าข้าวไร่พันธุ์สกลนครและข้าวก่ำในจังหวัดขอนแก่น ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ ผู้ผลิตข้าวไร่จนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย จำนวน 156 ราย ผลการศึกษาพบว่า ช่องทางการตลาดของข้าวไร่ทั้ง 2 พันธุ์แตกต่างกันตามผลิตภัณฑ์ คือ ข้าวเปลือกทั่วไปและเมล็ดพันธุ์ ในรูปข้าวเปลือกพบว่า ข้าวพันธุ์สกลนคร เกษตรกรผู้ผลิตเป็นผู้ได้รับส่วนเหลื่อมการตลาดและส่วนแบ่งกำไรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.65 และ 43.85 ตามลำดับ ข้าวก่ำพบว่า ผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นผู้ได้รับส่วนเหลื่อมการตลาดและส่วนแบ่งกำไรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.43 และ 46.06 ตามลำดับ เมล็ดพันธุ์ พบผู้ที่ได้รับส่วนเหลื่อมการตลาดมากที่สุด คือ เกษตรกรผู้ผลิตข้าวไร่ คิดเป็นร้อยละ 55.56 และ 55.00 ตามลำดับ และพ่อค้ารวบรวมเป็นผู้ได้รับส่วนแบ่งกำไรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.27 และ 60.49 ตามลำดับ และพบอีกว่าการเพิ่มมูลค่าและการพัฒนาข้าวไร่ให้เป็นมากกว่าข้าวเพื่อการบริโภค จะทำให้เกษตรกรมีผลตอบแทนที่ดี ABSTRACT This study examines the production and marketing procedures operated by all the people who were involved in a value chain of Sakon Nakorn and Purple rice varieties. Furthermore, the study also investigates the problems and the obstacles arising in each level of all the related 156 samples including from the farmers to the consumers. The study found that the marketing performance of both types of the rice was different according to the variety of products including paddy, processed rice and rice seeds. In terms of paddy, the farmers planting Sakon Nakorn rice gained the most marketing margins and profit share which were valued 83.65% and 43.85% respectively. Considering the processed rice, the processors of Purple rice gained the most marketing margins and profit share at 46.43% and 46.06% respectively. On the subject rice seed, it was upland rice farmers who gained the most marketing margins of both Sakon Nakorn and Purple rice at 55.56% and 55.00% respectively, and it was collecting merchants who gained the most profit share at 46.27% and 60.49% respectively. That adding value and developing upland rice is more to the consumer will give farmers a better return.  
ผู้เขียน
545030054-3 น.ส. นันนิภา ประสันลักษณ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ดีเด่น  
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านคุณธรรม จริยธรรม 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 28 มีนาคม 2557 
แนบไฟล์
Citation 0