|
ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
|
ชื่อบทความ |
ปัจจัยที่ทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันFACTORS PREDICTING THE VISITING TIME IN PATIENTSWITH ACUTE ISCHEMIC STROKE |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
18 กรกฎาคม 2557 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
กองบรรณาธิการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
ISBN/ISSN |
- |
ปีที่ |
8 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
กรกฎาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2557 |
หน้า |
- |
บทคัดย่อ |
การศึกษาวิจัย แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน บุคคลที่เกี่ยวข้อง สถานที่เกิดอาการ และการเดินทางมารับการรักษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 140 คนเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย4ส่วน คือ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและระยะเวลาต่างๆในการมารับการรักษา 3) แบบสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับอาการเตือน ปัจจัยเสี่ยง และการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง 4) แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดระยะเฉียบพลัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Logistic Regression โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคเลือดสมองระยะเฉียบพลันเพียง ร้อยละ 42.9 ที่มีระยะระยะเวลาการมารับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน พบว่าบุคคลที่เกี่ยวข้อง(Adjust OR =13.90, p-value= 0.015, 95% CI: 1.65 – 114.84) ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน(Adjust OR =5.03, P-value= 0.012, 95% CI: 1.43 – 17.67) เป็นตัวแปรที่สามารถทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05The aim of this cross-sectional study are to study the factors that are predicting visiting time in patients with ischemic stroke including age, sex, education, economic,stroke-related knowledge, stroke severity, stroke bystander, location of symptom onset and transport. Subjects are 140 male and female patients with acute ischemic stroke who came for treatment at Surin Hospital. Research instruments consisted of 1) a demographic data form, 2) symptom onset and length of visiting time interview form, 3) stroke-related knowledge interview form, 4) stroke severity scale. Data were analyzed by using descriptive statistics and logistical regression. Statistical significance was set at p-value of 0.05. The results show that there was only 42.9.% of acute ischemic stroke patients who arrived at hospital within 3 hours after the onset of symptoms. Factor associated with visiting time in patients with ischemic stroke is stroke bystander (p<0.05). Factor predicting visiting time in patients with ischemic stroke are stroke bystander (Adjust OR =13.90, P-value= 0.015, 95% CI: 1.65 – 114.84) and (Adjust OR =5.03, P-value= 0.012, 95% CI: 1.43 – 17.67) |
คำสำคัญ |
ปัจจัยที่ทำนาย, ระยะเวลาการมารับการรักษา, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|
|
|
|
|
|