2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีภายหลังการใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนังFactors Influencing Self-care Behaviors of Cholangiocarcinoma Patients after Percutaneous Transhepatic Biliary Drainge 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 สิงหาคม 2557 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารโรงพยาบาลสกลนคร  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร โรงพยาบาลสกลนคร 
     ISBN/ISSN 0859-7251 
     ปีที่ 18 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม -สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2557 
     หน้า
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีภายหลังการใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนัง โดยใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาด้วยการใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนัง (percutaneous transhepatic biliary drainage : PTBD) ทุกรายที่มาติดตามการรักษาที่แผนกศัลยกรรมผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 จำนวน 113 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการดูแลตนเองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ (mean difference 0.05, 95 % CI = 0.003-0.11, p = .038) และรายได้เฉลี่ยของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญ (r = 0.382, p = .01) นอกจากนี้รายได้เฉลี่ยของครอบครัวยังเป็นตัวทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีที่สุด โดยสามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ร้อยละ 9.6 This study was a correlation research project with the aim of studying the factors influencing self – care behavior of cholangiocarcinoma patients after undergoing the percutaneous transhepatic biliary drainage (PTBD) process through the skin. The research used Orem’s Self-Care Deficit Theory as a frame of study. The target group consisted of 113 cholangiocarcinoma patients treated through the PTBD process who had follow-ups between January and July 2013 at Srinagarind Hospital’s General Surgery Department for outpatients and inpatients. The tools used in this research were personal information questionnaires, self-care behavior questionnaire, and social support questionnaire. The data was analyzed through stepwise multiple regression analysis, finding percentages, means, S.D., t-test, Pearson 's correlation coefficients, Spearman’s rank correlation coefficients, and multiple correlation coefficients. The results are summarized as follows: Different levels of education contributed to differences in self-care with a mean difference of 0.05, 95%, CI = 0.003-0.11, and p = .038. Family income positively and significantly affected self-care behavior, with r = 0.382 and p = .01. In fact, family income was the best predictor for self-care behavior; it could predict up to 9.6%.  
     คำสำคัญ มะเร็งท่อน้ำดี การใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนัง การดูแลตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม  
ผู้เขียน
535060002-3 น.ส. ธัญทิพย์ คลังชำนาญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum