ชื่อบทความ |
ทัศนคติของผู้ป่วยต่อวิธีการรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์โดยผู้ป่วยเป็นผู้รายงานและแหล่งข้อมูลที่ผู้ป่วยใช้ในการยืนยันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
22 สิงหาคม 2557 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
59 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม – ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2557 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ป่วย/ผู้ปกครองต่อการรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์และแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการยืนยันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามซึ่งให้อาสาสมัครตอบด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยและผู้ปกครองของผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่ได้รับการรักษาด้วยยา methylphenidate รับการรักษาที่ห้องตรวจจิตเวช โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน – 12 กันยายน พ.ศ. 2556 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2 test และ multiple logistic regression
ผลการวิจัย แบบสอบถามที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 604 ราย (ร้อยละ 93.8) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองร้อยละ 96 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 52.2) อายุเฉลี่ย 40.30±7.73 ปี แหล่งข้อมูลที่ใช้มากที่สุดคือ เอกสารกำกับยา (ร้อยละ 50) และอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 26) ผู้ป่วยและผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีต่อการรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.76±0.70 ร้อยละ 55.8 เห็นด้วยว่าการรายงานอาการไม่พึงประสงค์เป็นหน้าที่รับผิดชอบของตน ร้อยละ 92.4 มีความพร้อมในการรายงานอาการไม่พึงประสงค์โดยสำรวจตัวเองอย่างสม่ำเสมอและร้อยละ 84.4 มีความมั่นใจในการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ของตนเอง ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติได้แก่ จำนวนยาอื่นที่ใช้ร่วม, ระยะเวลาในการรักษา และ จำนวนอาการไม่พึงประสงค์ที่รายงาน (p<0.001, 0.01, <0.001 ตามลำดับ)
สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยและผู้ปกครองมีความต้องการและความพร้อมในการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบการรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ และยังเห็นว่าการรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์นั้นเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของตน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยและผู้ปกครองยังคงต้องการความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์ในการติดตามและรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
|
คำสำคัญ |
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โรคสมาธิสั้น การรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ แหล่งข้อมูล ทัศนคติ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|