2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสัมพันธ์ของลาวที่มีต่อจีน ก่อน ค.ศ. 1975 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 พฤศจิกายน 2556 
การประชุม
     ชื่อการประชุม 9th International Conference on Humanities and Social Sciences 2013 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม Faculty Humanities and Social Sciences 
     สถานที่จัดประชุม Khon Kaen University 
     จังหวัด/รัฐ Khon Kaen 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 พฤศจิกายน 2556 
     ถึง 15 พฤศจิกายน 2556 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่) panel 26/3 
     หน้าที่พิมพ์ 62 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้มีคำถามหลักที่ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ของลาวที่มีต่อจีนในช่วงค.ศ. 1779 - 1975 ว่าเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดที่ทำให้เป็นเช่นนั้น โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) ซึ่งมีแนวคิดเมืองฝ่ายฟ้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการอธิบายความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการศึกษาจากเอกสารประเภทตำนาน พงศาวดาร ชีวประวัติ และเอกสารต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า ในสมัยจารีตความสัมพันธ์ของรัฐในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีต่อจีนอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ในกรอบของรัฐบรรณาการ แต่ละรัฐต่างก็มีความสัมพันธ์ที่มีต่อจีนในรูปแบบที่แตกต่างกัน ในขณะที่ลาวมีสภาพภูมิศาสตร์การเมืองที่ถูกรายล้อมด้วยเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ โดยมีจีนเป็นมหาอำนาจสูงสุด ประกอบกับภูมิประเทศไม่มีทางออกทางทะเลและจำนวนประชากรก็มีน้อยที่สุดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ความสัมพันธ์ของลาวที่มีต่อจีนช่วง ค.ศ. 1779 - 1975 พบว่ามี 3 ลักษณะคือ 1. ช่วงตกเป็นเมืองขึ้นของสยามในปีค.ศ. 1779 – 1893 ความสัมพันธ์ของลาวที่มีต่อจีนเป็นไปในรูปแบบของเมืองเล็กที่มีต่อเมืองใหญ่โดยลาวต้องส่งบรรณาการให้แก่จีน 2. ช่วงตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1893 – 1954 ลาวได้เข้าสู่ความสัมพันธ์แบบรัฐ-ชาติ ลักษณะของความสัมพันธ์ของลาวที่มีต่อจีนจึงเปลี่ยนไปสู่ความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ 3. ช่วงค.ศ. 1954 - 1975 ภายหลังที่ลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส ลาวกลายเป็นประเทศเดียวสองระบอบ คือ ระบอบเสรีนิยมมีศูนย์กลางการปกครองที่เวียงจันทน์ และระบอบสังคมนิยมมีศูนย์กลางการปกครองที่แขวงหัวพัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็มีสัมพันธ์ที่ดีต่อจีน จึงกลายเป็นความร่วมมือรอบด้าน ขณะเดียวกันจีนยังมีนัยยะแฝงในการสร้างฐานอำนาจของตน เพื่อต่อต้านประเทศฝ่ายเสรีนิยมที่เข้ามาคุกคามในช่วงเวลานั้น  
ผู้เขียน
545080004-8 นาย ศรีวิลาส มูลเหลา [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0