ชื่อบทความ |
การศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการใช้หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
13 ตุลาคม 2557 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารศึกษาศาสตร์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
0857-1551 |
ปีที่ |
38 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กรกฎาคม-กันยายน 2558 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2557 |
หน้า |
- |
บทคัดย่อ |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหลักสูตรและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศึกษาด้านบริบทของหลักสูตร ด้านปัจจัยเบื้องต้นในการผลิต ด้านกระบวนการใช้หลักสูตร และด้านผลผลิตของหลักสูตร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและอาจารย์จำนวน 7 คน นักศึกษาจำนวน 159 คน และพี่เลี้ยง (Job Supervisor) ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสอบถามปลายเปิด และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1) ด้านบริบทของหลักสูตร (Context) พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก แต่มีข้อเสนอแนะว่า ควรเน้นความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น ควรปรับรายวิชาให้สอดคล้องกับวิชาชีพทางภาษาฝรั่งเศส และควรเพิ่มรายวิชาที่เน้นการปฏิบัติ
2) ด้านปัจจัยเบื้องต้นในการผลิต (Input) พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีอาจารย์เพิ่มมากขึ้น ควรมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อปรับพื้นฐานสำหรับผู้เรียนที่ไม่มีพื้นฐานทางวิชาภาษา ควรมีห้องสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
3) ด้านกระบวนการใช้หลักสูตร (Process) พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง และมีข้อเสนอแนะว่า การจัดแผนการศึกษาควรให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ควรใช้วิธีการสอนที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดการวัดและประเมินผล
4) ด้านผลผลิตของหลักสูตร (Product) พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก แต่มีข้อเสนอแนะว่า ควรพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการสื่อสาร ควรเน้นการสื่อสารทางภาษาอังกฤษให้มากขึ้น และมีข้อเสนอแนะว่า ควรปรับปรุงองค์ความรู้ของบัณฑิตในด้านการคิดวิเคราะห์ การวางแผน และทักษะการสื่อสารทางภาษา และการติดต่อสื่อสารในองค์กร
5) ความพึงพอใจของนักศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะว่าควรปรับรายวิชาให้มีความทันสมัย เรียนรู้นอกพื้นที่เพื่อที่จะได้ปฏิบัติจริงและควรมีนักศึกษาแลกเปลี่ยนในสาขาวิชา
|
คำสำคัญ |
Curriculum implementation, Curriculum of Arts in French, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khonkaen University |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|