2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาอิทธิพลการโคจรของดวงอาทิตย์ที่มีผลต่ออุณหภูมิอากาศในอาคารในจังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 มิถุนายน 2558 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ิBTAC on energy and environment 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2558 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ปัจจัยที่ทำให้ปริมาณความร้อนในประเทศไทยแตกต่างกัน คือ ทิศทางการโคจรของดวงอาทิตย์ เนื่องจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์และระยะเวลาที่รังสีตกกระทบอาคารมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้อุณหภูมิที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันตามไปด้วย การวางผังอาคารให้สอดคล้องกับการโคจรของดวงอาทิตย์เพื่อให้เกิดสภาวะน่าสบายเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยการศึกษานี้ได้ทำการทดลองที่จังหวัดขอนแก่น โดยศึกษาจากการจำลองกล่องทดสอบขนาดพื้นที่ภายใน 0.8 ลูกบาศก์เมตร แบ่ง 9 ช่องเท่าๆ กัน ผนังภายนอกก่ออิฐมวลเบาฉาบปูนเรียบ เจาะช่องเปิดขนาด 0.20 x 0.20 เมตร ผนังด้านในกั้นด้วยโฟม หนา 4 นิ้ว ติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลอุณหภูมิอากาศและความชื้นทุกห้อง เป็นเวลา 1 วันใน 3 ฤดู โดยทำการศึกษาในระบบปิดและระบบเปิด (ระบบปิดแทนห้องปรับอากาศและระบบเปิดแทนห้องไม่ปรับอากาศ) จากการศึกษาพบว่าห้องในทิศที่มีอุณหภูมิอากาศที่อยู่ในช่วงสภาวะน่าสบาย ทั้งระบบปิดและระบบเปิด ของทั้ง 3 ฤดู เรียงจากมากไปหาน้อย ได้ดังต่อไปนี้ • ข้อมูลอุณหภูมิตลอด 24 ชั่วโมง ดังนี้ 1. ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 2. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ทิศเหนือ 4. ทิศตะวันออก 5. ทิศตะวันตกเฉียงใต้ 6. ทิศตะวันตก 7. ทิศใต้ • ข้อมูลอุณหภูมิช่วงเวลา 06.00 – 18.00 น. ดังนี้ 1. ทิศเหนือ 2. ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 3. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 4. ทิศตะวันออก 5. ทิศตะวันตกเฉียงใต้ 6. ทิศตะวันออกเฉียงใต้ • ข้อมูลอุณหภูมิช่วงเวลา 18.00 – 06.00 น. ดังนี้ 1. ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 2. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ทิศเหนือ 4. ทิศตะวันออก 5. ทิศตะวันตกเฉียงใต้ 6. ทิศตะวันออก 7. ทิศตะวันตก 8. ทิศใต้ สามารถนำทิศที่เรียงลำดับนี้ไปใช้ในการออกแบบวางผังอาคารโดยยึดกิจกรรมที่เกิดขึ้นและช่วงเวลาในการใช้งานภายในห้องเป็นหลัก  
     คำสำคัญ ทิศทาง, สภาวะน่าสบาย, การออกแบบสถาปัตยกรรม  
ผู้เขียน
535200004-1 นาย ศรายุทธ แก้วกลม [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0