2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title คุณสมบัติบางประการของดินบริเวณรอบรากพืชเด่นบนพื้นที่ดินเค็มน้อยบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำชีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
Date of Distribution 8 August 2014 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 2 
     Organiser กรมพัฒนาที่ดิน 
     Conference Place โรงแรมพูลแมนขอนแก่นราชาออร์คิด อ.เมือง  
     Province/State จ.ขอนแก่น 
     Conference Date 8 August 2014 
     To 9 August 2014 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการในการตรวจสอบความสัมพันธ์ทางกายภาพและเคมีบางประการของดินและพืชเด่นในพื้นที่ดินเค็มน้อยในฤดูแล้ง ทำการศึกษา 3 พื้นที่คือ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดชัยภูมิ โดยได้เก็บตัวอย่างดินแต่ละพื้นที่ที่ความลึก 0-15 ซม. รอบเขตรากพืชเด่นและได้นำมาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ศึกษาจังหวัดชัยภูมิ มีค่าคุณสมบัติของดินสูงที่สุด คือ ค่า pH 5.3, ECe 2.52 dS/m, ปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน 12.86 ppm., ความชื้นในดิน 4.61%, ลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย (Sandy clay loam) ส่วนในพื้นที่ศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าคุณสมบัติดินต่ำสุด คือ pH 4.13, ECe 4.31 dS/m, ปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน 1.75 ppm., ความชื้นในดิน 3.30%, ลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย (Sandy loam) จำนวนพืชพรรณที่พบรวมกันทั้ง 3 จังหวัดมี 88 ชนิด 37 วงศ์ โดยในจังหวัดชัยภูมิพบจำนวนพืชพรรณ มากที่สุด 55 ชนิด 33 วงศ์ รองลงมาจังหวัดขอนแก่นพบพืชพรรณ 52 ชนิด 32 วงศ์และจังหวัดกาฬสินธุ์พบพืชพรรณน้อยที่สุด 29 ชนิด 20 วงศ์ จากการเปรียบเทียบชนิดของพืชพรรณในสังคมพืชที่พบในพื้นที่ศึกษาชี้ให้เห็นว่า ค่าความเค็มในพื้นที่ศึกษาจังหวัดชัยภูมิจะมีมากกว่าในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำให้พืชทนเค็มที่เป็นพืชเด่นเจริญเติบโตได้ดีกว่า ส่วนพืชทนเค็มที่เป็นพืชเด่นที่พบได้ทั้ง 3 พื้นที่ มีการปกคลุมมากที่สุด 7 อันดับแรก คือ หญ้าแพรก ต้นงวงช้าง เส่งใบมน สาบแร้งสาบกา หญ้าตีนตุ๊กแก ผักแก่นขม และหญ้าหวาย ดังนั้น จึงสามารถใช้พืชเด่นชนิดเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดระดับความเค็มของพื้นที่ดินเค็มน้อยหรือใช้เป็นตัวชี้วัดการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มได้เช่นกัน รวมทั้งยังใช้ประโยชน์เพื่อป้องกันพื้นที่ๆมีความเสี่ยงจะขยายตัวและพัฒนาเป็นพื้นที่ดินเค็มได้ คำสำคัญ : ดินเค็มน้อย ลุ่มน้ำชี โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ ค่าการนำไฟฟ้าของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ  
Author
565030099-3 Mr. SARAWUT DEEPROM [Main Author]
Agriculture Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum