ชื่อบทความ |
การศึกษาประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบอาหารในปลาโมง ด้วยวิธี in vitro protein digestibility
|
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
27 มกราคม 2557 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
แก่นเกษตร ฉบับพิเศษ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
42 |
ฉบับที่ |
ฉบับพิเศษ1 |
เดือน |
มกราคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2557 |
หน้า |
32-37 |
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ: การทดลองนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการย่อยด้วยวิธี in vitroprotein digestibility ในวัตถุดิบอาหารได้แก่
ปลาป่น กากถั่วเหลือง ข้าวโพด และร�าเพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสูตรอาหารส�าหรับเลี้ยงปลาโมง โดยในการศึกษานี้
ทดดลองในปลาโมง 2 ขนาด คือขนาดเล็กน้ำหนักเฉลี่ย 30-40 กรัม/ตัว และขนาดใหญ่น้ำหนักเฉลี่ย 80-100 กรัม/ตัว
พบว่ากิจกรรมของเอนไซม์โปรติเอสในกระเพาะอาหารของปลาโมงทั้ง 2 ขนาดมีแนวโน้มสูงที่สุดที่ pH 8 ในส่วนของลำไส้
กิจกรรมของเอนไซม์โปรติเอสในลำไส้ปลาขนาดเล็กและใหญ่มีแนวโน้มสูงสุดที่ pH 12 และ pH 10 จากผลการศึกษา
พบว่าประสิทธิภาพการย่อยได้ของโปรตีนในปลาป่น จากเอนไซม์ที่สกัดได้จากกระเพาะอาหาร และลำไส้ในปลาขนาด
เล็ก มีค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับวัตถุดิบอาหารชนิดอื่น (p<0.05) โดยมีค่า 81.16 ± 0.007 และ 85.24 ± 0.012 เปอร์เซ็นต์
แต่ประสิทธิภาพการย่อยได้ของโปรตีนในวัตถุดิบอาหารทุกชนิดมีค่าใกล้เคียงกันในปลาโมงขนาดใหญ่ (p>0.05) จาก
การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเอนไซม์โปรติเอสที่สกัดได้จากกระเพาะและส่วนของลำไส้ปลาโมงทั้ง 2 ขนาด น่าจะเป็น
เอนไซม์ในกลุ่มซีรีนโปรติเอส เนื่องจากสามารถย่อยโปรตีนได้ในสภาวะที่เป็นด่าง ในช่วง pH 7-11 และปลาโมงขนาดเล็ก
มีประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนจากวัตถุดิบจากสัตว์ได้ดีกว่าวัตถุดิบจากพืช ส่วนปลาโมงขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพในการ
ย่อยโปรตีนจากวัตถุดิบอาหารทุกชนิด ได้ดี ดังนั้นผลจากการศึกษานี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้าง และปรับปรุงสูตร
อาหารที่เหมาะสมกับขนาดของปลาโมง ทั้งด้านโภชนาการและราคา |
คำสำคัญ |
เอนไซม์โปรติเอส, ปลาโมง, ประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน, in vitro, วัตถุดิบอาหาร |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|