2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ผลของรูปแบบของแบบทดสอบและวิธีการให้คะแนนที่มีต่อคุณภาพของแบบทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ The Results of Formats and Scoring Methods Effecting the Qualities of Science Tests 
Date of Acceptance 11 September 2015 
Journal
     Title of Journal กองบรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ (ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา) 
     Standard TCI 
     Institute of Journal กองบรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 1905-9574 
     Volume 10 
     Issue พิเศษ 
     Month กรกฎาคม-กันยายน
     Year of Publication 2016 
     Page
     Abstract วิทยาศาสตร์มีรูปแบบของแบบทดสอบที่แตกต่างไปจากเดิมโดยมุ่งเน้นการตอบข้อสอบที่ไม่ได้มีเพียง 1 คำตอบที่ถูกที่สุด ในหนึ่งข้ออาจตอบถูกได้มากกว่า 1 คำตอบ หรือมีรูปแบบที่หลากหลายเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเนื้อหาวิชา ดังนั้นเมื่อรูปแบบของแบบทดสอบเปลี่ยนไปวิธีการให้คะแนนจึงแตกต่างไปด้วยเช่นกัน การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีรูปแบบของแบบทดสอบและวิธีการให้คะแนนแตกต่างกัน ผู้เข้าร่วมทดสอบ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1,132 คน จาก 8 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 โดยมี 3 เงื่อนไขที่ทำการศึกษา คือ 1) แบบเลือกตอบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือก 1 คำตอบที่ถูกที่สุด มีการตรวจให้คะแนน 0-1 2) แบบเลือกตอบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือก 1 คำตอบ และปรนัยหลายตัวเลือก เลือกคำตอบที่ถูกได้มากกว่า 1 คำตอบ มีการตรวจให้คะแนน 0-1 และการตรวจให้คะแนน 0-2 และ 3) แบบเลือกตอบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือก 1 คำตอบ และปรนัยหลายตัวเลือก เลือกคำตอบที่ถูกได้มากกว่า 1 คำตอบ มีการตรวจให้คะแนน 0-1 และการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วน ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบทั้ง 3 เงื่อนไข สามารถวัดได้ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ แต่เมื่อพิจารณาดัชนีบ่งชี้ ค่าความเที่ยง ซึ่งสะท้อนถึงความคงเส้นคงวาของแบบทดสอบ พบว่า เงื่อนไขที่ 3 ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือก 1 คำตอบ และปรนัยหลายตัวเลือก เลือกมากกว่า 1 คำตอบมีการตรวจให้คะแนน 0-1 และการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนมีคุณภาพสูงสุด รองลงมาคือเงื่อนไขที่ 2 และ 1 ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้ เป็นประโยชน์และเป็นแนวทางสำหรับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานทางการศึกษาในการกำหนดรูปแบบของแบบทดสอบและวิธีการให้คะแนนของแบบทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพ  
     Keyword คุณภาพของแบบทดสอบ รูปแบบของแบบทดสอบ วิธีการให้คะแนน ราส์ชโมเดล Qualities of Science Tests, Formats of Test, Scoring Methods, Rasch Model 
Author
565050128-0 Miss KRONGKWAN KOEICHAIYAPHUM [Main Author]
Education Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0