Research Title |
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้น คุณค่าทางโภชนาการ และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ของผลมะนาวไม่รู้โห่ (Carissa carandas L.)
|
Date of Distribution |
8 March 2015 |
Conference |
Title of the Conference |
The 7th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2015 “Challenges and Opportunities of Pharmacy Profession in Post-Millennium Development Agenda” |
Organiser |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Conference Place |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Province/State |
ขอนแก่น |
Conference Date |
7 March 2015 |
To |
8 March 2015 |
Proceeding Paper |
Volume |
11 |
Issue |
Supplement |
Page |
7-13 |
Editors/edition/publisher |
|
Abstract |
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้น คุณค่าทางโภชนาการ และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ของผลมะนาวไม่รู้โห่ (Carissa carandas L.)
นพดล หงษ์สุวรรณ1, แคทรียา สุทธานุช2, ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล2*
บทคัดย่อ
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้น คุณค่าทางโภชนาการ และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ของผลมะนาวไม่รู้โห่ (Carissa carandas L.)
นพดล หงษ์สุวรรณ1, แคทรียา สุทธานุช2, ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล12
ว. เภสัชศาสตร์อีสาน, มีนาคม 2558; 11(ฉบับพิเศษ) : 7-13
บทนำ: มะนาวไม่รู้โห่ (Carissa carandas L.) เป็นพืชวงศ์ Apocynaceae ที่ได้รับความสนใจในระบบการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย โดยมีการนำส่วนต่างๆ ของมะนาวไม่รู้โห่มาใช้รักษาโรค วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้น คุณค่าทางโภชนาการ และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของผลมะนาวไม่รู้โห่ 2 ระยะ ได้แก่ ผลอ่อน และผลแก่ โดยแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเปลือกและเนื้อ กับ ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดและเมล็ด ซึ่งได้ตัวอย่างทั้งหมด 4 ชนิด ดังนี้ (1) ส่วนเปลือกและเนื้อระยะผลอ่อน (ผลสีขาวปนสีแดง): PP(W/R), (2) ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดและเมล็ดระยะผลอ่อน (ผลสีขาวปนสีแดง): PS(W/R), (3) ส่วนเปลือกและเนื้อระยะผลแก่
(ผลสีแดงเข้ม): PP(Dm) และ (4) ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดและเมล็ดระยะผลแก่ (ผลสีแดงเข้ม): PS(Dm) วิธีการดำเนินการวิจัย: ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ ด้วยวิธี Proximate analysis ของผลสดมะนาวไม่รู้โห่ ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้น ด้วยวิธี Thin Layer Chromatography (TLC) ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารสกัด เมทานอลจากผลมะนาวไม่รู้โห่ ในการศึกษาเชื้อ
Staphylococcus aureus (S. aureus) และ Escherichia coli (E. coli) ถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนเชื้อแบคทีเรียในการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษาวิจัย: พบสารกลุ่มฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ แทนนิน คูมารินกับแอนทราควิโนน และเทอร์ปีนอยด์กับสเตียรอยด์ ในสารสกัดผลสดมะนาวไม่รู้โห่ทั้ง 4 ชนิด ด้านคุณค่าทางโภชนาการ PP(Dm) มีปริมาณสูงที่สุด ซึ่งค่าพลังงานทั้งหมดได้จาก ไขมัน (ร้อยละ 12.30 ± 0.29) โปรตีน (ร้อยละ 13.84 ± 0.37) และคาร์โบไฮเดรต (ร้อยละ 51.14 ± 0.78) นอกจากนี้สารสกัดจาก PP(Dm) และ PP(W/R) สามารถออกฤทธิ์ต้านการเจริญและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย S. aureus และ E. coli ได้ดี สำหรับสารสกัด PS(W/R) และ PS(Dm) มีฤทธิ์ต้านการเจริญและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้น้อย สรุปผลการวิจัย: การศึกษานี้พบว่ามะนาวไม่รู้โห่ทั้ง 2 ระยะ มีศักยภาพที่สามารถเป็นแหล่งอาหารทางเลือกเพิ่มเติม และสามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ต้านเชื้อแบคทีเรียอีกทางเลือกหนึ่ง
คำสำคัญ: มะนาวไม่รู้โห่, องค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้น, คุณค่าทางโภชนาการ, ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย |
Author |
|
Peer Review Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Level of Conference |
ชาติ |
Type of Proceeding |
Full paper |
Type of Presentation |
Oral |
Part of thesis |
true |
Presentation awarding |
false |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|