Title of Article |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อสำนึกในถิ่นที่ในย่านการค้าเก่าเมืองอุบลราชธานี |
Date of Acceptance |
18 November 2015 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
16854489 |
Volume |
14 |
Issue |
1 |
Month |
มกราคม-มิถุนายน |
Year of Publication |
2016 |
Page |
41-58 |
Abstract |
แนวคิด “สำนึกในถิ่นที่” เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ของคนกับถิ่น ซึ่งรูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความซับซ้อนและคลุมเครือ เป็นประเด็นที่นำมาอภิปรายกันมากกว่าทศวรรษ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมหลักการและแนวคิดสำนึกในถิ่นที่ของนักวิชาการในหลายสาขา ทั้งจากเอกสาร หนังสือและงานวิจัย โดยจากการศึกษาแนวคิดดังกล่าวพบว่า “ถิ่น”และ “คน”คือองค์ประกอบหลักของสำนึกในถิ่นที่ สะท้อนถึงอัตลักษณ์ซึ่งกันและกัน นำไป สู่การดูแลรักษาคุณภาพของสภาพแวดล้อมและคนที่ดำรงอยู่ในถิ่น การรับรู้สำนึกสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเข้าไปสัมผัสจนถึงระดับของการที่คนรู้สึกหลอมรวมไปกับถิ่น อีกทั้งบทความนี้ได้แสดงการคาดการณ์ทางปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดสำนึกในถิ่นที่ของคนในและคนนอกกับพื้นที่ 4 แห่งในย่านการค้าเก่าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งปัจจัยที่เกิดขึ้นมีระยะ เวลาของการอยู่ในพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญถึงการเชื่อมต่อกับถิ่น โดยคนในมีการดำรงอยู่แบบสถานการณ์เชิงลึก สะสมซ้อน ทับความรู้ ประสบการณ์กับกิจกรรมในพื้นที่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในส่วนคนนอกที่อาจไม่เคยเข้ามาหรือเคยมาสัมพันธ์กับพื้นที่ในช่วงเวลาไม่นาน สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับถิ่นได้ด้วยปัจจัยทางประสบการณ์ ความทรงจำในอดีตทั้งทาง ตรงและทางอ้อมกับองค์ประกอบภายในถิ่น ซึ่งตัวแปรทางปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เกิดสำนึกในถิ่นที่ได้ แต่ยังคงรู้สึกแปลกแยกหรือเหินห่างกับถิ่นซึ่งแตกต่างจากคนใน การนำไปใช้ตั้งข้อสังเกตนี้เพื่อเข้าใจหลักการและแนวคิดเบื้องต้น สามารถนำไปเป็นแนวทางในการศึกษาเชิงลึกให้เกิดความเข้าใจปรากฏการณ์ทางความสัมพันธ์ของคนกับถิ่นต่อไป |
Keyword |
ถิ่น ,แนวคิดสำนึกในถิ่นที่ ,ย่านการค้าเก่าเมืองอุบลราชธานี |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ตีพิมพ์แล้ว |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|