ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม NSAIDs ของเภสัชกรโรงพยาบาลและทัศนคติต่อความจำเป็นในการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
1 กุมภาพันธ์ 2557 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
A Celebration of 100 years of Thai Pharmacy and 20 Years of UBU Pharmacy |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานุ |
สถานที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
จังหวัด/รัฐ |
อุบลราชธานี |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
1 กุมภาพันธ์ 2557 |
ถึง |
2 กุมภาพันธ์ 2557 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
9 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
179 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
บทนำ: Nonsteroidal Anti-inflammatory drugs (NSAIDs) เป็นยาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในผู้ป่วยเพื่อจัดการอาการปวดและต้านการอักเสบ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องคำนึงพร้อมๆกับประสิทธิภาพและประโยชน์จากยากลุ่ม NSAIDs คือความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse Drug Reactions; ADRs) ดังนั้นการศึกษานี้จึงต้องการสำรวจถึงความตระหนักของเภสัชกรโรงพยาบาลถึงความเสี่ยงต่อการเกิด ADRs จากยากลุ่ม NSAIDs ในผู้ป่วยก่อนจ่ายยา ตลอดจนทัศนคติที่มีต่อกระบวนการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ADRs แก่ผู้ป่วย วิธีการศึกษา: แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นผ่านการทำ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านและทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม (Reliability) ในเภสัชกรโรงพยาบาล 20 ราย เก็บข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังเภสัชกรโรงพยาบาล 761 รายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน - 31 ตุลาคม 2555 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: มีแบบสอบถามตอบกลับจำนวน 417 ฉบับ (54.80%) ทั้งนี้ประเด็นที่เภสัชกรโรงพยาบาลระบุว่ามีการประเมินในผู้ป่วยก่อนจ่ายยา NSAIDs มากที่สุดคือ การสอบถามประวัติการแพ้ยา (97.1%) รองลงมาคือ ประวัติโรคร่วม (69.0%) และอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังจากใช้ยา (51.0%) ในขณะที่มีการสอบถามน้อยกว่า 50% เกี่ยวกับประวัติยาที่ใช้ร่วม การแสวงหาการรักษาจากที่อื่น ประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้อาหารเสริมสมุนไพรร่วมด้วย โดยพบว่า ประเภทของโรงพยาบาลเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสอบถามข้อมูลจากผู้ป่วยเพิ่มเติมทั้งในด้านประวัติโรคร่วม ยาที่ใช้ร่วม ประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการแสวงหาการรักษาจากที่อื่น นอกจากนี้เภสัชกรโรงพยาบาลโดยส่วนใหญ่มีทัศนคติในระดับกลางต่อความจำเป็นในการให้ข้อมูลด้าน ADRs แก่ผู้ป่วย อย่างไรก็ตามเภสัชกรในโรงพยาบาลตติยภูมิมีความกังวลถึงข้อมูล ADRs อาจส่งผลให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยา และการได้รับเอกสารกำกับยาอาจทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาลดลงมากกว่าเภสัชกรในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและปฐมภูมิ สรุป: ความเหมาะสมในการใช้ยา NSAIDs ในผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความปลอดภัยในการใช้ยา เภสัชกรควรให้ความสนใจและตระหนักมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการใช้ยา |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Abstract |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|